ย้อนอดีต กรุงศรีอยุธยาหรืออาณาจักรอยุธยา ตอนที่๒
ช่วงเวลานั้นปี พ.ศ. ๒๓๐๗ ขณะที่มังมหานรธา ตีเข้ามาทางหัวเมืองใต้ สกัดกำลังจากชายทะเลทิศใต้ ในทางเหนือเองก็มี กองทัพข้าศึกภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาด้านด่านระแหงแขวงเมืองตาก โดยกวาดต้อนผู้คนตัดกำลังของกรุงศรีอยุธยาทางหัวเมืองเหนือ โดยหมายใจบรรจบเข้าที่กรุงศรีอยุธยา
กลุ่มบ้านบางระจัน หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์ไทยอันลือลั่นสำหรับการสู้รบต่อต้านการรุกรานของข้าศึกในสงครามสยาม(พ.ศ. ๒๓๐๘ - พ.ศ. ๒๓๑๐) แต่ในที่สุดข้าศึกก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ (วันจันทร์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๐๙) รวมเวลาที่ไทยรบกับข้าศึกตั้งแต่เดือน ๔ ปลายปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๕ เดือน ข้าศึกได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายของตน ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้
ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๐๘ กองทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารข้าศึกกองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารข้าศึก จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน ๓ พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารข้าศึก ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหาข้าศึกนำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารข้าศึกหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันข้าศึกตายประมาณ ๒๐ คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก
ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารข้าศึกที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก ๗ คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอกไม้ และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม ๑๑ คน ตั้งกองสู้กับกองทัพข้าศึก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ ๒๙กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ มีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน"
ดวงเมืองอยุธยาในคราวเจอข้าศึกและเสียกรุงครั้งที่๒ นั้น ในวันกรุงแตก ๗ เมษายน ๒๓๑๐ อายุดวงเมือง ๔๑๗ ปี จะเห็นว่า ลัคนาจร อยู่ที่ราศีมังกร ในลัคนาเดิมที่มีทั้งเสาร์และอังคารเจ้าเรือนปัตนิเข้าเบียน ทับกับดารวจันทร์เดิมและราหู หรือหากพิจารณาเพิ่มเติมจะเห็นดาวจรในวันที่เสียกรุงนั้น หมายถึงดาวอังคารมีทั้งพุธและศุกร์เดิมเป็นจตุโกณ ส่วนอาทิตย์เดิมนั้นมีดาวพุธศุกร์โอบหน้าและแบคคัสโอบหลัง ดาวจันทร์ ในลัคนาจรหมายถึงเจ้าเรือนปัตนิหรือข้าศึกเป็นเกษตร จรตรีโกณเป็นเหตุทำให้ถูกข้าศึก ยึดบ้านเมืองเผาทำลายขนสมบัติและผู้คนไปเป็นเชลย
พระเจ้าตากสิน เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองตากเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ทรงทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยเสียชีวิต จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน จึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๗ เกิดเหตุการณ์ข้าศึกยกกองทัพมายึดหัวเมืองแถบภาคใต้ของไทยปัจจุบันโดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ปรากฏว่าเข้ายึดได้โดยง่าย จึงยึดเรื่อยมาจนถึงเมืองเพชรบุรี ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพซึ่งมีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตากเป็นแม่ทัพไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนกองทัพข้าศึกแตกถอยไปทางด่านสิงขร
พระยาตากสินเดิมทรงมีพระนามเดิมว่า "สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า "เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล บิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ "นายไหฮอง” มารดาเป็นหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราช ที่๓) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย และได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต ขออนุญาตนำดวงพระชะตาจากตำราของอ.เล็ก พลูโต ในโหราศาตร์ระบบพลูหลวง มาประกอบเรื่องเืพ่ออธิบาย ในเรื่องของการตีฝ่าวงล้อมข้าศึก และ ตีเมืองจันทรบูร ค่ะ
ภายหลังในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตาก ครั้นพระยาตากคนเดิมถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น "พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”
เมื่อข้าศึกบุกผ่านเมืองตากอีกครั้ง พระยาตากมีความชอบนำทหาร ๕๐๐ นายมาช่วยป้องกันพระนคร จึงได้รับพระราชทานของบำเหน็จความดีความชอบ ในระหว่างการปิดล้อมนั้นก็ได้ปรากฏฝีมือเป็นนายทัพเข้มแข็ง ปฏิบัติงานตาม คำสั่งของราชการ ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ
ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกประมาณ ๓ เดือน กลางดึกของวันที่๓ มกราคม๒๓๐๙ ข้าศึกได้ระดมยิงกรุงศรีอยุธยาอย่างหนักเกิดเพลิงลุกไหม้ทั่วพระนครทั้งบ้านเรือน วัด และวัง พระยาตากสินได้รวบรวมไพร่พลและเดินทางออกจากพระนคร ตามพระราชโองการของพระเจ้าเอกท้ศน์ ฝ่าวงล้อมไปทางทิศตะวันออก ยังเมืองจันทรบูร โดยออกจากเมืองทางวัดพิชัยและไปต่อยังบ้านหารตราเมื่อเวลาค่ำมีทหารข้าศึกตามมาและรบกันจนทหารข้าศึกพ่ายแพ้ไป ทางผ่านยังนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด แม้ว่าในปีนั้นลัคนาจร ไปอยู่ในราศีกุมภ์ ทำให้เจ้าเรือนปัตนิคือดาวอาทิตย์ ซึ่งตำแหน่งเดิมเป็นมหาอุจ มีกำลังมากและได้รับกระแสที่ดีจากดาวศุภเคราะห์อันได้แก่ ดาวพุธ๔ ดาวศุกร์๖มหาอุจ ดาวแบคคัสเป็นจตุโกณทำให้ศัตรูมีกำลังกล้าแข็ง แต่ในพื้นดวงเดิมนั้นศัตรูถูกบาปเคราะห์ทุกดวงและดาวให้โทษมาเบียนรวมกัน ๙ดวง ส่วนในดาวจรนั้นวันที่ตีฝ่าวงล้อมจากกรุงศรีอยุธยา นั้นดาว๕เจ้าเรือนอริ ถูกดาวบาปเคราะห์ร้ายและดาวที่ให้โทษจรมาเบียนถึง๙ดวง มีดาวเสาร์๗จรมาเล็ง ดาวเนปจูนจรกากะบาด ดาวพลูโต จรนำหน้า ดาวพฤหัส๕ จรโยคหลัง ดาวจันทร์๒คู่ศัตรูเป็นประ ราหู๘จรโยคหน้า ดาวอังคาร๓ดาวมฤตยู๐และดาวเกตุตรีโกณทั้งสองจุด
พระยากตากได้เดินทัพเข้ายึดเมืองจันทบุรี โดยใช้ช้างพังคีรีกุญชรพังประตูเมือง เข้ายึดเมืองจันท์ได้สำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เพลา๓ ยามเศษ ตรงกับวันที่ ๑๕มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒เดือน และได้รวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรี จากพระราชลัคนาจรนั้นเมื่อนำมาวางในลัคนาเดิม จะเห็นว่า ได้ดาวอาทิตย์ที่เป็นมหาอุจเจ้าเรือนอริ มากุมดาวพุธ มีดาวแบคคัสจตุโกณ มีดาวศุกร์๖ มหาอุจเสริมกำลังเป็นให้เหตุให้พระอง๕ืต้องตรากตรำทำศึกอย่างหนักเพื่อรวบรวมกำลังพลกลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา และในศึกเมืองจันทรบูรนั้น ดาวอาทิตย์๑ เจ้าเรือนอริ ในพระราชลัคจรนั้นถูกบาปเคราะห์ทุกดวงและดาวให้โทษทำมุมอย่างยับเยิน กล่าวคือมีดาวเสาร์๗กุม ดาวเนปจูน บีบหน้า ดาวเกตุ๙ ดาวศุกร์ ๖ เจ้าเรือนมรณะบีบหลัง ดาวอังคาร๓ ดาวฆาตตรีโกณหรือส่งกระแสมรณะไปถึง ดาวราหู๘ ดาวพลูโต เล็ง ดาวมฤตยูทำมุมปลายหอก และวันที่ตีเมืองสำเร็จนั้น ดาว๕ ต้องกระแสดาวอังคารอันเป็นดาวฆาต ซึ่งทำมุมตรีโกณและถูกบาปเคราะห์เบียน ยับเยินทั้ง ดาวพลูโตจรนำหน้า ดาวจันทร์ประคู่ศัตรู ดาวราหูจรโยคหน้า ดาวเนปจูน ร่วมราศีกับดาวพฤหัส นั้นจรกากะบาด ดาวเสาร์ ดาวมฤตยูและดาวเกตุ จรทำมุมปลายหอกทิ่มแทง
พระยาตากสามารถรวบรวมผู้คนกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาจากข้าศึกได้ภายในเวลา ๗ เดือน ได้ปราดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” ต่อจากนั้นพระองค์ได้ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบ ทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงได้อาณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันดังเดิม
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระบรมราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพสกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์
วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙❤❤❤❤💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙❤❤❤❤💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น