ราหูคู่เกตุ ตัวคุ้มภัย
ทั้งราหูและเกตุ ต่างก็มีตำนานตามคติของศาสนาฮินดูและพุทธค่ะ
ตำนานของราหูเป็น เทพอสูรและเทวดานพเคราะห์ด้านบาปเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ กำเนิดของพระราหูมีหลายตำนานคือ(ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพิเดีย)
๑. ในทางคติไทย พระศิวะสร้างพระราหูขึ้นมาจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว (บางตำราก็ว่า สร้างขึ้นจาก หัวผีโขมด ๑๒ หัว) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง (บางตำราก็ว่า ห่อผ้าสีทองสัมฤทธิ์) แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤต เสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดงมีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๑ (ย ร ล ว) ถือเป็นเทวดานพเคราะห์ของผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน
๒. ในทางคติฮินดู พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค
๓. ในทาง ฤคเวท พระราหูเป็นอสูรหรือทานพ นามว่าสวรรภานุ เกิดรู้สึกอิจฉา พระอาทิตย์ จึงจับพระอาทิตย์กลืนไว้ พระอินทร์จึงใช้จักรตัดหัวสวรรภานุและปลดปล่อยพระอาทิตย์ออกมา
๔. ในพุทธศาสนา พระราหู มีนามว่าพระอสุรินทราหู เป็นอุปราชคู่กับ ท้าวพรหมทัตตาสูร ยังเป็นโอรสท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ โดยปกครองอสูรทางทิศเหนือ มีพละกำลังกล้าแกร่งมากกว่าอสูรทั้งหมด เป็นเทวดาตระกูลเนวาสิก ต่อมาท้าวสักกะได้ยึดอำนาจ และขับไล่พวกเทวดาตระกูลเนวาสิก ลงมาจากเขาพระสุเมรุ ในขณะที่กำลังเมาสุรา ทำให้พวกเทวดาเหล่านี้ประกาศตนว่าเป็นพวกอสุราหรืออสูร และสร้างเมืองอสูรขึ้นในหุบเขาตรีกุฎ ใต้เขาพระสุเมรุ นอกจากและยังเป็น พระโพธิสัตว์ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตด้วย
กำลังของราหูคือ ๑๒ และ สำหรับคนเกิดวันพุธกลางคืนคือราหู (ในทางทักษา) พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์ บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน) (บทขันธปริตร)
ปกตินั้นพระราหูจะให้คุณและให้โทษเช่นดาวอื่น ถ้าราหูอยู่ในตำแหน่งที่ดี เช่นทรงตำแหน่งเกษตร มหาอุจจ์ มหาจักร ราชาโชค หรือยามที่ราหูจรมาให้คุณแก่ดวงชะตา ราหูจะให้คุณ เช่นตำแหน่งหน้าที่การงาน,มีทรัพย์เงินทองบางคนถึงขั้นเป็นเศรษฐีคหบดีก็มี ตามภาพแสดงตัวอย่าง พระราหูให้คุณ
ส่วนที่พระราหูในโทษนั้น ก็เช่นการที่พระราหูอยู่ตำแหน่งศูนย์พาหะ หรือค้นทรัพย์ หรือเล็งลัคนา
ในโหราศาตร์ไทย-พาราณสีจะมีกล่าวถึงเกณฑ์ทัณฑ์ทปติ ซึ่งหมายถึงดวงที่มีโอกาสอาจจะต้องไปมีคดีทางแพ่งหรือทางอาญา หรือ เสี่ยงคุกตะรางมีหลักเกณฑ์ตามตำราว่าไว้ ก็คือ ราหูในดวงชะตาอยู่ที่ราศีพฤษภเป็นนิจ, ราหูอยู่ที่ราศีสิงห์เป็นประ แล้วราหูดังกล่าวเป็นเกษตรเจ้า เรือนศุภะลัคนา ราหูที่ได้เกณฑ์ทัณฑ์ทปติ ดังกล่าวอยู่ที่ภพ อริแก่ตนุเกษตร ลักษณะนี้จะถือว่าราหูให้โทษแก่ดวงชะตา ราหูที่ได้เกณฑ์ทัณฑ์ทปติแม้ว่าจะเป็นเกษตรเจ้าเรือนภพศุภะ,กัมมะของลัคนาสามารถมีโอกาสความเป็นไปได้ทำให้ถูกดำเนินคดีได้เหมือนกัน ตัวอย่างตามภาพด้านล่างอยู่ในส่วนเรื่องของดาวเกตุค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูดาวอื่นเช่นดาวใหญ่ทั้งสามดาวพฤหัสบดี,เสาร์ และอังคาร ประกอบ
ส่วนเกตุนั้น เป็นเทวดานพเคราะห์ ในคติไทย ตำนานป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง พระศิวะทรงนำพญานาค ๙ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง ปะพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกเป็นพระเกตุมีพระวรกายสีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและแก้วโกเมน ทรงพญานาคเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเบื้องกลาง แต่บ้างก็ว่า พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก
ในคติฮินดูนั้น พระเกตุเป็นน้องชายของพระราหู เกิดจากท้าววิประจิตติ กับนางสิงหิกา แต่ส่วนมากมักนิยมว่า พระเกตุเป็นส่วนลำตัวของพระราหูที่ถูกจักรตัดออกไป พระราหูจึงมีแต่หัว ส่วนพระเกตุมีแต่ลำตัวที่ไม่มีหัว บ้างก็ว่าพระศุกร์ได้นำนาค มาผ่าเป็น๒ส่วน เพื่อมาต่อให้ราหูและเกตุ พระราหูมีหัวเป็นอสูร ตัวเป็นเทพนาค พระเกตุมีหัวเป็นเทพนาคตัวเป็นอสูร
ในโหราศาสตร์ไทยพระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙ มีอัตราการจรในแต่ละราศีประมาณสองเดือน โคจรย้อนจักราศีเช่นเดียวกับราหู ซึ่งมีสิ่งที่เกิดดุจดังเลข ๙ ที่มีลักษณ์ที่ดุจดังน้ำหรือเปลวไฟที่มีอาการสั่นไหวนั่นเอง เกตุในโหราศาสตร์ไทยไม่ได้เล็งกับราหูตลอดเวลาเช่นเดียวกับสากลและอินเดีย ในส่วนของเกตุมีความสัมพันธ์กับจันทร์ จึงเป็นปัจจัยที่มีความหมายคล้ายกับจันทร์ส่วนหนึ่งคือความหวั่นไหวอ่อนไหวง่าย แต่เป็นขั้นที่สูงของจันทร์ที่ละเอียดกว่า จึงแทนด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รับรู้ด้วยใจ
หากมีทั้งเกตุและราหูในราศีเดียวกันเท่ากับมีครบทั้งตัวและหางถือว่า เกตุนั้นเป็นส่วนที่สำคัญ สำหรับราหู
จึงขอพูดถึงเกณฑ์สำคัญในโหราศาสตร์ไทย-พาราณสีมีกล่าวถึง ดวงชะตาที่มีความเป็นอยู่ที่ดี บางคนได้เป็นใหญ่ในแวดวงราชการและการเมือง หรือมีอุบัติเหตุรถชนรถคว่ำไม่เป็นอันตราย บางคนไปต่างประเทศซ้ำๆ เรียกว่าดวงชะตาได้เกณฑ์ภังคะปติ
ดาวเกตุอยู่ราศีมิถุน สิงห์ ธนู และราศีกุมภ์และดาวเกตุไม่อยู่ในภพอริ,มรณะ,วินาสน์แก่ตนุเกษตร และลัคน์ องศาของเกตุไม่อยู่ในตรียางค์พิษ ดาวเกษตรเจ้าเรือนของดาวเกตุที่ไปอาศัยอยู่ไม่เป็นอริ แก่ ดาวเกตุ ถ้าดาวเกตุได้เกณฑ์ภังคะปติ ดังกล่าวนี้ กุมอยู่ที่ตนุเกษตร# หรือกุมอยู่ที่ภพกัมมะ ศุภะ แก่ตนุเกษตร# หรืออยู่ที่ลัคนาก็ได้ จะถือว่าดาวเกตุได้เกณฑ์ภังคะปติที่แท้จริง ดาวเกตุที่ได้เกณฑ์ภังคะปติ แต่ทว่าดาวเกตุเล็งกันกับดาวเกษตรเจ้าเรือนลัคนา หรือกุมกับดาวเกษตรเจ้าเรือนของลัคนา ในลักษณะอย่งนี้แม้ดาวเกตุจะอยู่ที่ภพวินาศน์แก่ตนุเกษตรก็จะถือว่าดาวเกตุไม่เสียยังถือว่าดาวเกตุได้เกณฑ์ภังคะปติ ที่แท้จริง ตามภาพคือดวงที่๑-๓ สำหรับ ดวงที่๔-๖ ดาวเกตุได้เกณฑ์ภังคะปติไม่แท้จริง ไม่สามารถส่งเสริมดวงชะตาถึงขั้นสูงได้ ถ้าเกิดเหตุ รถชนกันหรือรถคว่ำหรืออุบัติเหตุใดอาจจะได้รับอันตรายมมากหรือ พิการหรือเสียชีวิต
สำหรับเกณฑ์ทัณฑ์ทปติที่พูดถึงก่อนหน้าในเรื่องของพระราหูด้านบน นั้นจะสามารถฟื้นได้หากมี ดาวเกตุ ได้เกณฑ์ภังคะปติอยู่ร่วมกับราหูหรือเล็งราหูเท่านั้น ลักษณะอย่างนี้แม้ว่าจะถูกดำเนินคดีทางแพ่งหรืออาญาก็จะมีโอกาสชนะคดีหรือหากถูกสอบสวนตรวจสอบทางวินัยก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้ ปีใดที่ราหูจรมาที่ราศีพฤษภ หรือราศีสิงห์ทับลัคนา และปีนั้นราหูเป็นอริแก่ตนุเกษตร#ปีนั้นอาจจะมีคดีความเกิดขึ้นได้
ดูจากภาพด้านล่าง ภาพ ๑-๓ ได้ เกณฑ์ทัณฑ์ทปติที่แท้จริง ในลักษณะนี้จะมีโอกาสมีเรื่องราวทางถูกฟ้องร้อง ทางคดีทางแพ่งหรืออาญาหรือโอกาสติดคุกตะราง ส่วนภาพดวงที่๔-๖ ได้เกณฑ์ทัณฑ์ทปติ แต่ไม่ร้ายแรงเพราะมีดาวเกตุภังคปติคุ้มกัน บางคนอาจมีคดีขึ้นโรงขึ้นศาลแต่ทว่าจะเป็นโจทย์เสียเป็นส่วนใหญ่
ในโหราศาสตร์ไทยพาราณสีได้อธิบาย ความหมายของคำว่านาคบริภักดิ์ นาคกะบาศก์ และนาคบริภัณฑ์ ไว้ดังนี้คือ
-กรณี นาคบริภักดิ์ คือ พระราหูสถิตย์ร่วมพระเกตุกุมตนุเกษตรทุกราศี ยกเว้น พฤษภและสิงห์ จะเป็นคนมีทรัพย์สินมาก อุดมด้วยทรัพย์สิน แต่อารมณ์ขี้หึง
-กรณีนาคกะบาศก์ คือในราศีพฤษภ และสิงห์ จะเป็นผู้มีทรัพย์สินมากเช่นกัน
-กรณีนาคบริภัณฑ์ พระราหูเล็งพระเกตุ จะเป็นผู้อุดมด้วยทรัพบ์หรือมีทรัพย์สินเช่นกัน
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙❤❤❤❤💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น