พฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ(๓๐มี.ค.๒๕๖๖)
พุธได้โคจรย้ายเข้าราศีเมษ (เวลา๒๒,๕๒น.)เจอกับ ศุกร์และราหู จะบอกว่า๒ คู่ ของพุธ ทั้งคู่มิตร ๔และ๖ กับ คู่อริ ๔และ๘ (พุธอันธพาลวิวาทราหู จากเรื่อง
ดาวราหู ๘ (ต่อ)โคลงกลอนที่เกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ https://zodietcwise.blogspot.com/2019/02/zodietc-l.html )
คนที่มีดาวพุธ เกี่ยวข้อง เป็นตนุลัคน์หรือ ตนุเศษหรือเป็นดาวประจำวันเกิด ต้อง ใช้ความใคร่ครวญเรื่องการใช้วาจา,งานเอกสารงานเขียน เพราะดาวอังคารเจ้าของราศีเมษก็ยังสถิตย์ราศีมิถุนของพุธ ตามโคลงกลอนที่ว่า "จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ"
จึงควรใช้วาจาหรือติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ อย่งมีสติ มิฉะนั้น อาจเป็นเหตุทำให้ตนเองเดือดร้อน มีศัตรูค่ะ ความมีไหวพริบ ความแตกฉานในการเขียนต่างๆค่ะ การแสดงความเห็นต่างอย่างสันติ ไม่ล่วงล้ำสิทธิคนอื่นมากเกินไปค่ะ นอกจากนี้ยังหมายถึงมีความผิดพลาดในข้อมูล,มีข่าวลวงข่าวลือ พูดเกินจริงด้วยค่ะ
อ่านเรื่องดาวพุธ๔ connected และ ดาวพุธ ดาวแห่งการสื่อสารได้ที่ https://zodietcwise.blogspot.com/2019/02/connected-connected.html และ https://zodietcwise.blogspot.com/2020/07/blog-post_67.html
สำหรับคนที่มีความเลื่อมใส อาจจะหาโอกาสไปไหว้สักการะ พระคเณศ หรือพระพิฆเนศ เทวดาที่เคารพในศาสนาฮินดู ตามเทวาลัยหรือในวัดที่ประดิษฐานต่างๆ พระคเณศนั้นถือเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่างๆก่อนเริ่มพิธีการหรือกิจกรรมใด ๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ ในประเทศไทยนั้น พระคเนศได้รับการเคารพบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งศิลปะโดยเฉพาะ คตินี้เกิดความความเชื่อส่วนพระองค์ในรัชกาลที่๖ ซึ่งพระองค์มีศรัทธาในพระคเณศเป็นอย่างมาก ทรงสร้าง "เทวาลัยคเณศร์" ขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่ประทับทรงงานด้านหนังสือและการละครมากที่สุด และเมื่อทรงตั้งวรรณคดีสโมสร ก็ทรงอัญเชิญพระคเณศเป็นตราสัญลักษณ์ สำหรับกรมศิลปากรนั้นได้นำตราพระคเณศของวรรณคดีสโมสรมาเป็นตรา จึงทำให้พระคเณศได้รับการเคารพในประเทศไทยในฐานะของเทพเจ้าแห่งศิลปะและการศึกษาในประเทศไทยตราบจนปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็เป็นสถานศึกษาที่ใช้พระคเณศเป็นตราสัญลักษณ์
พระคเณศ - วิกิพีเดีย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น