ใส่บาตร ทำบุญสังฆทาน ดาวเคราะห์ย้ายเรือน
พูดถึงดาวเคราะห์ทั้งหลาย รวมทั้ง ดาวเสาร์และดาวมฤตยูโคจรโยกย้าย ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
โดยในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ดาวเสาร์จะย้าย ขณะที่ดาวมฤตยูย้ายใหญ่วันที่ ๘ มีนาคม ถือว่าเป็นดาวใหญ่ทั้งสองดาวที่จะโยกย้ายในเดือนมีนาคม
ดาวเสาร์ซึ่งถือเป็นดาวประจำเรือนกัมมะของดสวงเมืองดวงโลกเองจะย้ายมาอยู่ในราศีกุมภ์ เป็นระยะเวลาประมาณ ๒ปี เข้าราศีมีนวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘ อ่านเรื่องดาวเสาร์ได้ที่ https://zodietcwise.blogspot.com/2020/07/blog-post_85.html
ส่วนดาวมฤตยูจะย้ายมาอยู่ราศีพฤษภ หลังจากที่เคยเดินเข้ามาราศีพฤษภ เมื่อ ๗ก.ค.๖๕ จนถึงวันที่ ๑กันยายน เริ่มพักร และเข้าราศีเมษ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เข้าราศีเมษ เป็นระยะเวลาประมาณ ๗ ปี ย้ายเข้าราศีมิถุน ๑๘กรกฎาคม ๒๕๗๒ ดาวมฤตยูเมื่อมีการยกหรือย้ายราศี เรามักจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ รวมถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันด้วย ทั้งดีและไม่ดี การเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ปฎิรูปสิ่งเดิม หรือการล้มเลิกความคิดเก่าๆ มายึดถือความคิดใหม่ เป็นการใช้อำนาจ ใช้ความคิดรุนแรง และการตัดสินใจที่เด็ดขาด ความศรัทธาที่แรงกล้า ความมุ่งหวังต้องการอิสรภาพ เกี่ยวพันกันเรื่องการเมืองอีกด้วย อ่านเรื่อง ดาวมฤตยู ได้ที่ https://zodietcwise.blogspot.com/2022/07/blog-post.html
นอกจากนี้ยังมีดาวอื่นย้ายด้วยค่ะ ตามที่ เคยเขียนเรื่อง ดาวใหญ่และน้อยโคจรกระทบ อิทธิพลต่อแต่ละลัคนา https://zodietcwise.blogspot.com/2022/12/blog-post_12.html
เดือน มีค ๖๖:
ดาว อาทิตย์ ๑ เข้าราศีมีน ๑๕ มี.ค. ๖๖
ดาวอังคาร ๓ เดินเข้าราศีมิถุน ๑๒มี.ค. ๖๖
ดาวพุธ ๔ เข้าราศีมีน ในวันที่ ๑๑มี.ค.๖๖
ดาวพฤหัสบดี ๕ อยู่ ราศีมีน เดินหน้า ตั้งแต่ ๓ ธ.ค.๖๕
ดาวศุกร์ ๖ ยังคงเดินในราศีกุมภ์
ดาวเสาร์ ๗ เข้าราศีกุมภ์ ๑มีค ๖๖
ดาวมฤตยู ๐ เข้าราศีพฤษภ ๘มี.ค. ๖๖
ดาวราหู ๘ อยู่เมษ
ดาวเกตุ ๙ เข้าราศีกันย์ ๒๓ มี.ค.๖๖
ดังนั้นการทำบุญเช่นการใส่บาตรหรือ การถวายสังฆทาน เป็นการเพิ่มบุญ หรือหากจะใส่บาตรให้ญาติผู้ล่วงลับก็ถือเป็นการอุทิศบุญกุศลก็เป็นบุญที่ดีอย่างนึง
การใส่บาตรหรือตักบาตรเป็นประเพณีของชาวพุทธตั้งแต่ ในสมัยก่อนอาจจะต้องเตรียมอาหารและกับข้าวและของกินหรืออาหารอื่นเอง แต่ปัจจุบันสามารถมาในแหล่งชุมชน หรือตลาด และ หาร้านที่มีเตรียมอาหารใส่บาตรพระขาย ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรมเป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออก เสียงเบาๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาตรด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรีให้วางดอก ไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว
การกรวดน้ำหรือการหลั่งน้ำเพื่อแผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำนั้นจะทำหลังใส่บาตร ตอนที่่พระอนุโมทนาบ สวดบท ยถา วาริวหา ฯลฯ ก็เริ่มกรวดไปหยุดตอนถึง มณิ โชติรโส ยถา ก็นำน้ำที่กรวดแล้วนั้นไปเทบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่หรือแผ่นดิน การกรวดน้ำนั้นทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับที่นับถือ รวมถึงเจ้ากรรมนายเวร และเทวดาที่คุ้มครองตัวเรา โดยความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นเมื่อสมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าได้สอนให้พระเจ้าพิมพิสารกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่พระญาติที่ล่วงลับ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนจึงนิยมกรวดน้ำเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั่นเอง
บทกรวดน้ำ ( อุทิศส่วนกุศล )
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ครุปัชฌายาจะริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย
ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย
ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
หากใช้ อีกรูปแบบคือ การกรวดน้ำแบบแห้ง ซึ่งจะใช้วิธีการประนมมือ อธิษฐานจิต ระลึกถึงผู้ที่เราจะอุทิศส่วนกุศลให้
ส่วน การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการหรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย "ไม่เลือก" ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)
- ตั้งนะโมสามจบ
- (๓ จบ)
- อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม
- สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุ สังโฆ อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ
- อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขายฯ
- กล่าวคำแปล
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์
- ขอพระสงฆ์ จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้
- เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
- ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
- เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise
- ฝากกดติดตาม IG: https://www.instagram.com/zodietcwise/
- สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาก่อนได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทาง ไลน์ Line https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
- ขอบคุณข้อมูล :
- ขอบคุณข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/สังฆทาน ,
การตักบาตร - วิกิพีเดีย
- ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์
- ข้อมูลตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์, ตำราโลกธาตุ
- ข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร, หลวงวิศาลดรุณกร(อั้น สาริกบุตร)
- ข้อมูลอาจารย์ศ.ดุสิต,อาจารย์พันเอก(พิเศษ) เอื้อน มนเทียรทอง
- ข้อมูลตำราอาจารย์พลูหลวง,
- ข้อมูลตำราอาจารย์เล็ก พลูโต,
- ข้อมูลตำราอาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์สิงห์โต สุริยาอารักษ์,อาจารย์อักษร ไพบูลย์,และอาจารย์ประภาพร เลาหรัตนเวทย์
- รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่อาจจะไม่ได้เอ่ยนาม ด้วยค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น