วุธวาร สหัชชะ การเดินทางระยะใกล้

 

วุธวาร สหัชชะ การเดินทางระยะใกล้


ดาวพุธย้ายเข้าธนูตั้งแต่ ๒๗พย ๖๕  

แต่มีวิถีโคจร มนฑ์  ๑๒ ธค ๖๕ - ๑๙ ธค และพักร์ ๒๐ ธค ๖๕ - ๘ มค ๖๖  มนฑ์ ๙-๑๖ มค ๖๖

จะยกเข้าราศีมังกร ๕ กพ ๖๖ แล้วเดินเสริดค่ะ ๑๙ กพ-๒๒มีค ๖๖

ดาวพุธเป็น ดาวการสื่อสาร หากเจ้าชะตามีดาวพฤหัสบดี ๕ ที่เข็มแข็ง และดาวพุธ๔ เดิมดีจะทำให้เป็นคนที่มีทั้งความรู้และทักษะการสื่อสารการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี,มีความจำที่ดี,รู้จักการวิเคราะห์,และรู้ทันคน 

ส่วนด้านเสียของดาวพุธ ๔ คือ มีไปด้านสุดโต่ง คือ อาจจะ ไม่ค่อยพูดหรือไม่บอกกล่าว,การพูดคลุมเคลือ,หรือชอบชักชวนหรือหลอกล่อ,หรือเจ้าแผนการ จนไปถึงการพูดจาเว่อร์เกินจริงหรือไม่ดี พูดน้ำไหลไฟดับ ต่างๆได้ค่ะ

ดาวพุธที่เมื่อโคจรเข้าไปอยู่ราศีธนูนั้นได้ตำแหน่งเป็นประอยู่แล้ว คำทำนายพุธในธนู

พูดมาก สมองปราดเปรื่อง สนใจในภาษาต่างประเทศ หัวกฎหมาย ธัมมะธัมโม ชอบเรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง แต่ไม่เอาจริงสักอย่างเดียว คิดการณ์ไกล มีความสามารถทั้งการพูดและการเขียนทั้งสองด้าน ชอบการเดินทางท่องเที่ยว หัวการเมือง คิดการณ์ลึกซึ้ง พูดได้หลายภาษา อารมณ์ดี ช่างพูดช่างคุย 

ส่วน พุธในราศีมังกรนั้นคำทำนาย จะมีหลายประการดังนี้ค่ะ

เสียงดัง คิดแล้วจึงกระทำ มีหัวในการปกครองและบริหาร ชอบออกคำสั่ง ชอบงานหนักๆ หรือชอบทำอะไรด้วยตนเอง หัวเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ ความสามารถในการตัดสินใจ การเดินทาง การทำงานด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ไปทำงาน ออกจากงาน

แต่เมื่อมีวิถีโคจรแบบนี้ดาวพุธเป็นตัวแทนของการสื่อสารหรือเอกสารสัญญาหรือการเจรจา การพักรคือการถอยหลังเดินหมายความคืออาจจะเป็นไปได้ที่จะ พูดจากันไม่ค่อยรู้เรื่องหรือพูดพล่อยๆ หรือ หาเอกสารสัญญาไม่เจอ หรือการคิดทบทวนซ้ำๆก่อนจะตัดสินใจหรือ ข้อมูลที่มีการบิดเบือน,ข้อมูลถูกดึงทำให้ล่าช้า,ข้อมูลติดขัดไม่ครบถูกแก้ไข แต่ข้อดีคือทำให้เกิดการทบทวนทั้งข้อมูลหรือเอกสารหรือคำพูดที่เคยเอ่ยกับใครไปหรือได้เจอเพื่อนเก่าๆ ทั้งนี้ต้องดูลัคนาเป็นสำคัญว่าดาวพุธจะมีความในชะตาตามเรือนหรือภพที่สถิตย์หลังจากตั้งลัคนาค่ะ นอกจากนี้การพักร ก็ควรคำนึงถึง โรคภัยไข้เจ็บ โรคเกี่ยวกับลำไส้, โรคเกี่ยวกับในช่องปาก, อาจจะไปถึง โรคที่เกี่ยวกับแขน.ขา.ปอด.และสมอง เพราะพุธครองราศีมิถุนและกันย์ ค่ะ

หากพิจารณา พุธดาวประจำในราศีมิถุน ธาตุลม ในแง่ความหมายของคำว่า สหัชชะ  นั้นให้ความหมายถึงการติดต่อ สื่อสารและการเดินทางระยะใกล้ ด้วยค่ะ  จะเห็นชัด ในสมัยก่อนการเดินทางระยะสั้นๆ นั้น ก่อนจะมี รถรับจ้างที่เป็นการพัฒนาจากจักรยาน คือ สามล้อถีบ และ รถไฟ นั้นเริ่มเดินทางด้วยเรือค่ะ ตามความหมายของเรือนพันธุอันนึงก็คือ               ยานพาหนะ ในดวงเมืองนั้นมีราศีกรกฎ ธาตุน้ำ และ ดาว ๒ เป็นเกษตรเจ้าเรือน ค่ะ 

ดังนั้น เรือ จึงเป็นยานพาหะ ที่ใช้เดินทางในระยะใกล้ อันเนื่องมาจากการที่ หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเดินเรือของคนไทยปรากฏอยู่บนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. ๑๘๒๒ -๑๘๔๓ ) แห่งกรุงสุโขทัย หลักที่ ๔ด้านที่ ๔ กล่าวว่าการเดินทางด้วยเรือและถนน แสดงว่า มีการสร้างเรือมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว สันนิษฐานว่า ในสมัยนั้นมีการต่อเรือจากไม้ซุงทั้งต้น รวมไปถึงเรือที่ใช้ไม้กระดานต่อกันแล้วชันยา เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างแพร่หลาย

กระทั่งมีการสถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓  ช่วงนั้นการติดต่อค้าขายระหว่างจีนและไทยเราใช้ “เรือสำเภา” เป็นหลัก  ในสมัยอยุธยาตอนต้นเรือสำเภาจีนก็มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานอารยธรรม จากหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับชาติตะวันตก ได้มีโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาในเมืองมะละกา ได้ส่ง “ดูอาร์เต เฟอร์นาน-เดส” เป็นผู้แทนเดินทางมาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับราชสำนักโดยใช้พาหนะในการเดินทางคือ “เรือสำเภาจีน” และเรือก็ใช้เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เรือเมื่อรวบรวมแล้วจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทค่ะ 

๑.แบ่งตามฐานะ เป็นเรือหลวง กับเรือ ราษฎร เรือหลวง คือเรือที่ราษฎรไม่มีสิทธิ์นำมาใช้ ถือเป็นของสูง เช่นเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งศรี เป็นต้น ส่วนเรือราษฎรได้แก่เรือทั่วๆ ไปที่ใช้ตามแม่น้ำลำคลอง

๒.แบ่งตามชนิด อาจแบ่งออกเป็น 2 พวก คือเรือแม่น้ำพวกหนึ่ง เรือทะเลพวกหนึ่ง เรือแม่น้ำคือเรือที่ใช้ไปมาในแม่น้ำลำคลอง เป็นเรือขุดหรือเรือต่อ ได้แก่ เรือมาด เรือหมู เรือพายม้า เรือม่วง เรือสำปั้น เรืออีแปะ เรืออีโปง เรือบด เรือป๊าบ เรือชะล่า เรือเข็ม เรือสำปันนี เรือเป็ด เรือผีหลอก เรือเอี้ยมจุ๊น เรือข้างกระดาน เรือกระแชง เรือยาว เรือมังกุ เป็นต้น ส่วนเรือทะเลคือเรือที่ใช้ไปมาในทะเลและเลียบชายฝั่ง เป็นชนิดเรือต่อ ได้แก่ เรือฉลอม เรือฉลอมท้ายญวน เรือเป็ดทะเล เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ เรือโล้ เรือสำเภา เรือปู เป็นต้น

๓.แบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่นเช่น  เรือพาย เรือกรรเชียง เรือแจว เรือโล้ เรือถ่อ เรือใบ   

จาก นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๑) ของสุนทรภู่หรือพระสุนทรโวหารกวีเอก มีชีวิตอยู่ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แต่งนิราศเป็นกลอนเกี่ยวกับการเดินทางทางเรือ จากวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร จุดหมายปลายทางคือ ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่ จังหวัดอยุธยา  

   มาจอดหน้าท่าวัดพระเมรุข้าม
   ริมอารามเรือเรียงเคียงขนาน
   บ้างขึ้นล่องร้องรำเล่นสำราญ
  ทั้งเพลงการเกี้ยวแก้กันแซ่เซ็ง

    

    บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ
   ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง
  มีโคมรายแลอร่ามเหมือนสามเพ็ง (สำเพ็ง)
  เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู

 

อ้ายลำหนึ่งครึ่งท่อนกลอนมันมาก
ช่างยาวลากเลื้อยเจื้อยจนเหนื่อยหู
ไม่จบบทลดเลี้ยวเหมือนเงี้ยวงู
จนลูกคู่ขอทุเลาว่าหาวนอน

 

ได้ฟังเล่นต่างต่างที่ข้างวัด
ดึกสงัดเงียบหลับลงกับหมอน
ประมาณสามยามคล้ำในอัมพร
อ้ายโจรจรจู่จ้วงเข้าล้วงเรือ


 นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง
มันดำล่องน้ำไปช่างไวเหลือ
ไม่เห็นหน้าสานุศิษย์ที่ชิดเชื้อ
เหมือนเนื้อเบื้อบ้าเลอะดูเซอะซะ


แต่หนูพัดจัดแจงจุดเทียนส่อง
ไม่เสียของขาวเหลืองเครื่องอัฏฐะ
ด้วยเดชะตบะบุญกับคุณพระ
ชัยชนะมารได้ดังใจปอง ฯ 

                                   



  • ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
  • เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise 
  • ฝากกดติดตาม IG: https://www.instagram.com/zodietcwise/
  • สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาก่อนได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อ            ได้ทาง ไลน์  https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M 
  • ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์
  • ข้อมูลตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์, ตำราโลกธาตุ
  • ข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร,
  • ข้อมูลอาจารย์ศ.ดุสิต,                                
  • ข้อมูลตำราอาจารย์พลูหลวง,
  • ข้อมูลตำราอาจารย์เล็ก พลูโต,
  • ข้อมูลตำราอาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์อักษร ไพบูลย์,และอาจารย์ประภาพร                    เลาหรัตนเวทย์
  • รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่มิได้เอยนามด้วยค่ะ

  •  

    ความคิดเห็น