บทสวดโพชฌงคปริตตัง หรือ โพชฌังคปริตร (หรือ โพชฌงโค) บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน
ควาหมาย ของ โพชฌงค์ คือ องค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ เปรียบดั่งพระพุทธมนต์ คือ
สติ ความระลึกได้
ธรรมวิจยะ ความใคร่ครวญในธรรม
วิริยะ ความเพียร
ปีติ ความอิ่มใจปัสสัทธิ ความสงบ
สมาธิ ความตั้งใจมั่น
อุเบกขา ความวางเฉย
ส่วนคำว่า ปริตร หมายถึง เครื่องคุ้มครองป้องกัน
จึงถือเป็นบทสวด คาถาพุทธมนต์ที่เสริมสิริมงคล ที่นิยมสวดให้ตัวเองและผู้ป่วยเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ
สรุปความจาก ๓ พระสูตร ในโพชฌงคสังยุตต์ สังยุตตนิกาย มารวมไว้เป็น
ปริตรเดียวกัน เนื้อหาโดยย่อของพระสูตรทั้ง ๓ มีดังนี้
• ปฐมคิลานสูตร: ครั้งหนึ่ง ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน
พระมหากัสสปะอาพาธอยู่ที่ถ้ําปปผลิ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไป
เยี่ยม และทรงแสดงโพชฌงค์ เมื่อพระมหากัสสปะสดับแล้ว ก็หายจากอาพาธนั้น
• ทุติยคิลานสูตร: ครั้งหนึ่ง ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน
พระมหาโมคคัลลานะอาพาธอยู่บนเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้า
เสด็จไปเยี่ยม และทรงแสดงโพชฌงค์ เมื่อพระมหาโมคคัลลานะสดับแล้ว ก็หาย
จากอาพาธนั้น (เนื้อหาในพระสูตรนี้เหมือนกับในพระสูตรแรก แตกต่างเฉพาะ
ชื่อบุคคลและชื่อสถานที่เท่านั้น)
• ตติยคิลานสูตร: ครั้งหนึ่ง ขณะประทับที่วัดเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
พระพุทธเจ้าทรงประชวร ขอให้พระมหาจุนทะแสดงโพชฌงค์ เมื่อทรงสดับแล้ว
ก็หายประชวร
โพชฌังคะปะริตตัง
นะโมตัสสะ สามจบ
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ- โพชฌังคา จะ ตะถา ปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
เอกัส์มิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิต์วา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
เอกะทา ะัมมะราชาปิ เคลัญเยนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปต์วานะ สาทะรัง
สัมโมทิต์วา จะ อาพาธา ตัมหา วุฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
ปะหีนเต จะ อาพาธา ติณรันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น