ย้อนอดีต กรุงศรีอยุธยาหรืออาณาจักรอยุธยา ตอนที่ ๑

ย้อนอดีต กรุงศรีอยุธยา หรืออาณาจักรอยุธยา ตอนที่๑

อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน
จิตใจอาวรณ์ มาเล่า สู่กันฟัง
อยุธยา แต่ก่อน นี้ยัง
เป็นดังเมืองทอง ของพี่น้อง เผ่าพงศ์ไทย
เดี๋ยวนี้ ซิเป็นเมืองเก่า
ชาวไทยแสนเศร้า ถูกข้าศึกรุกราน
ชาวไทย ทุกคนหัวใจร้าวราน
ข้าศึกเผาผลาญ แหลกราญ วอดวาย
เราชน ชั้นหลังฟังแล้วเศร้าใจ
อนุสรณ์ เตือนให้ ชาวไทยคงมั่น
สมัครสมาน ร่วมใจกันสามัคคี
คงจะไม่มี ใครกล้า ราวีชาติไทย
เนื้อเพลง อยุธยาเมืองเก่า มล ขาบ กุญชร ณ อยุธยา
 เป็นเมืองที่เสมือนเกาะซึ่่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า ๔๐ ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม

มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. ๒๑๔๓ กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ๓๐๐,๐๐๐ คน และอาจสูงถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ราว พ.ศ. ๒๒๔๓ บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"

พระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสน กำเนิดขึ้นในวันที่๔ มีนาคม ๑๘๙๓ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน๕ ปีขาล เวลา ๐๙.๕๔ น. หรือเวลา ๓ นาฬิกา เก้าบาท ศักราช๗๑๒ ปีขาล หรือ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๔ ตามปฏิทินไทยสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นคาบเกี่บวกับรัชสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สุโขทัยมิอาจต้านทานความแข็งแกร่งของอยุธยาได้ แม้ว่าพระมหาธรรมราชาลิไท จะเสด็จไปประทับที่สองแคว (พิษณุโลก) เพื่อเตรียมรับศึกอยุธยาแล้วก็ตาม

แต่สุดท้ายพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้เจรจาประนีประนอมยอมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคู่กับสุโขทัย และทั้งสองนครนี้ก็เป็นไมตรีต่อกันมาจนตลอดรัชกาลของพระองค์

ดวงของกรุงศรีอยุธยามีลัคนาสถิตที่ราศีพฤษภ ๙องศา ๕๙ ลิปดา โดยมี

  • ดาวจันทร์ (๒) สถิตที่ราศีพฤษภ ๑๘ องศา ๕๓ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นมหาอุจ กุมลัคนา จึงเป็นเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ มีความงดงามมีเสน่ห์ ดังคำชมว่า เวนิสตะวันออก
  • ดาวอาทิตย์ (๑) สถิตที่ราศีมีน ๗ องศา๕๓ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นอุจจาวิลาศ 
  • ดาวอังคาร (๓) สถิตที่ราศีมีน ๑๙ องศา ๔๗ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นจุลจักร  การร่วมกันของดาวอาทิตย์และอังคาร ความหมายด้านร้ายคือการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ จึงทำให้เกิดการแย่งอำนาจหรือผลัดเปลี่ยนกันเป็นใหญ่ระหว่างกษัตริย์และเสนาบดีหรือราชวงศ์ 
  • ดาวพุธ (๔) สถิตที่ราศีกุมภ์ ๒๗ องศา ๑๔ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นจุลจักร   
  • ดาวพฤหัสบดี (๕) สถิตที่ราศีกรกฎ ๒๘ องศา๔๑ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นมหาอุจ เป็นโยคหน้าแก่ลัคน์ เมืองอยุธยาจึงมีจิตใจใฝ่การกุศลมีความเชื่อในเรื่องศาสนานับถือพระสงฆ์และวัดวาอารามได้รับการอุปถัมภ์และก่อสร้างขึ้นมามากมายเสมือนแข่งกันทำบุญ
  • ดาวศุกร์ (๖) สถิตที่ราศีกุมภ์ ๒๐ องศา ๒๕ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นอุจจาวิลาส  เป็นดาวตนุลัคน์และบริวารทางทักษาด้วย 
  • ดาวเสาร์ (๗) สถิตที่ราศีเมษ ๖ องศา ๕๒ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นนิจ        
  • ดาวราหู (๘) สถิตที่ราศีพฤษภ ๒๙ องศา ๕๕ ลิปดา ได้เกณฑ์ดาวมาตรฐานเป็นนิจ เป็นศูนย์พาหะ  ทางทักษาเป็นกาลกิณี  แม้จะมีดาวจันทร์และพฤหัสขนาบหน้าหลัง   
  • ดาวเกตุ (๙) สถิตที่ราศีมีน ๒๗ องศา ๔๐ ลิปดา  (ไม่มีในรูปจักรราศีนะคะ)    เท่ากับว่าเกตุร่วมอาทิตย์และอังคาร                                                 
  • ดาวมฤตยู-ยูเรนัส (๐) สถิตที่ราศีมีน ๒๗องศา ๒๙ลิปดา (ไม่มีในรูปจักรราศี) และมฤตยูร่วมอาทิตย์และอังคาร

มืองอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรมา ๓๓ พระองค์ รวม ๕ ราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันปกครอง คือ

๑.ราชวงศ์ อู่ทอง ๓ พระองค์

๒.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๑๓ พระองค์

๓.ราชวงศ์สุโขทัย ๗ พระองค์

๔.ราชวงศ์ ปราสาททอง ๔พระองค์

๕.ราชวงศ์ บ้านพลูหลวง ๖ พระองค์


เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก 

 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๑๑๒ (เสาร์ แรม๑๑ ค่ำ เดือน๙ ไทย ศักราช ๙๑๘ ปีมะเส็ง) พระเจ้าบุเรงนองประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่ง วันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๑๒ได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑ บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา  ขณะที่สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่ ได้ถูกนำไปกรุงหงสาวดีด้วยแต่สมเด็จพระมหินทร์ประชวรและสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี

พม่าเข้ายึดทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คนกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก โดยเหลือให้รักษาเมืองเพียง ๑,๐๐๐ คน คนที่เหลือก็หนีไปหลบอาศัยอยู่ที่อื่น บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายได้รับความเสียหายเป็นอันมาก  อาณาจักรอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรตองอูเป็นเวลานาน ๑๕ ปีภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพให้กับอาณาจักรอยุธยาในอีก ๑๕ ปีต่อมา ในส่วนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเขียนถึงแล้วในเรื่อง #เกร็ดดาวจันทร์ตอนที่๓ ดวงมาลัยโยค   มีรูปจักรราศีคล้ายดวงกรุงศรีอยธยายกเว้นพระศุกร์อยู่ราศีมังกร  

ดาวจรวันเสียกรุงครั้งที่๑ มีอังคารวินาสน์และปัตนิมาทับลัคนาและทับจันทร์ และพระศุกร์ ๖ ตัวอริและลัคนาไปทับดาวพฤหัสบดี ๕ ลาภะพร้อมกับดาวพุธและจันทร์ พลเมืองเดือดร้อนถูกกวาดต้อน และดาว๕เป็นมรณะเกษตร  ดาวจันทร์๒ เป็นเกษตรจึงยังไม่ถูกเผาย่อบยับเหมือนเมื่อเสียกรุงครั้งหลัง


ต่อมาเมืองผ่านร้อนผ่านหนาวจนกระทั่ง   

พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้เป็นพระเจ้าอังวะและส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า ๗๐,๐๐๐ นาย ยกเข้าตีเมืองสยาม ๒ ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน ๑ ปี ๒ เดือน ก็เข้าพระนครได้ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศหรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๖ และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๐๑  — ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ มีพระราชสมัญญานามที่สามัญชนเรียกกันอย่างลับว่า ขุนหลวงขี้เรื้อน เนื่องจากพระฉวี (ผิวหนัง) เป็นโรคผิวหนัง โรคเรื้อน หรือโรคกลากเกลื้อน  

ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองของพม่า ได้บรรยายให้เห็นว่าในสงครามครั้งนี้ ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้เตรียมการและกระทำการรบอย่างเข้มแข็ง มิได้เหลวไหลอ่อนแอ 

ลำดับเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐  หรือ วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๑๑๒๘ เป็นวันที่เกิด การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ 

  • วลา ๑๕.๐๐ น. วันเนาว์สงรานต์เวลาบ่ายคล้อย ทางข้าศึกจุดเพลิงเผาฟืนเชื้อใต้รากกำแพงตรงหัวรอ ริมป้อมมหาไชย และข้าศึกค่ายวัดการ้อง วัดแม่นางปลื้มและค่ายอื่นๆ ทุกค่าย จุดปืนป้อมและหอรบยิงระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน ตั้งแต่บ่ายสามโมงจนพลบค่ำ
  • เวลาทุ่มเศษ  กำแพงเมืองที่จุดเชื้อฟืนเผารากนั้นทรุดลงหน่อยหนึ่ง
  • เวลา ๒๐.๐๐ น.  ทางข้าศึกให้จุดปืนสัญญาณขึ้น
  • ข้าศึกได้ลงเรือเข้ามาถึงฝั่งกำแพงพระนครในตอนกลางคืน ใช้บันไดไต่กำแพงเมืองตรงที่กำแพงทรุด และโยนหม้อดินบรรจุดินปืนขับไล่ผู้รักษาการอยู่รอบกำแพงเมือง
  • ทางข้าศึกเข้ากรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และจุดเพลิงขึ้นทุกตำบล เผาเหย้าเรือนและอาวาสพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร แสงเพลิงสว่างประดุจกลางวัน แล้วเที่ยวไล่จับผู้คน ค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่าง ๆ
  • สรุปเสียกรุงศรีอยุธยาแก่ข้าศึก เวลาสองทุ่มของคืนวันอังคารที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐      
  • สรุปในแง่ของดวงเมืองนั้น ดาวจร มีทั้งอังคารปัตนิและเสาร์มาทับลัคน์ทับจันทร์ ดาวราหูเข้าเรือนของเสาร์เป็นตำแหน่งมหาจักร เล็งจันทร์จากเจ้าเรือนลัคน์ ดาวเกตุขนาบหน้าและมฤตยูนั้นมาขนาบหลังของลัคน์ ดาวศุกร์เจ้าเรือนลัคน์และอริมาอยู่ร่วมเสาร์เดิมพร้อมกับมฤตยู ส่วนดาวพฤหัสบดี มรณะยกมาเข้าราศีสิงห์อุจจาภิมุข         
ขออนุญาตนำบทกวีนิพนธ์ที่ท่านอาจารย์ อังคาร กัลยาณพงศ์ แต่งไว้มาประกอบค่ะ
                       โอ้อยุธยายิ่งฟ้า                           มหาสถาน
                          มาล่มหาทกล้าทหาร                  ล่าแล้ง
                          เสียแรงช่างเชี่ยวชาญ              นฤมิต
                         แสนสัตว์ป่ามาแกล้ง                  ป่นเกลี้ยงมไหศวรรย์

                           พระศรีสรรเพชญ์นิ่งกลิ้ง          กลางดิน
                          แร้งหมู่หมากากิน                       ฟากฟ้า
                          ชลเนตรเจตภูตริน                     เป็นเลือด
                          นองหลากไหลไล้หล้า             ล้มม้วยเมืองหาย 

                       ฤากรุงเกลี้ยงทแกล้ว           ไกรหาญ ฮะฮา
                         โอ้อยุธยาปาน                         ป่าช้า
                         ไอศูรย์มหาศาล                      เหลือซาก
                         เลือดมนุษย์แล้งล้า                ลึกซึ้งบัดสี




รออ่านตอน ๒ นะคะ จะมีเรื่องของ พระเจ้าตากสิน ซึ่งเริ่มแรกเป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์หรือ  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองตากเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ  ทรงทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยเสียชีวิต จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๗

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

  • ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
  • เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise 
  • ฝากกดติดตาม IG: https://www.instagram.com/zodietcwise/
  • สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาก่อนได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทาง ไลน์ Line                                                         https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
  • ขอบคุณข้อมูล :วิกิพีเดีย เรื่อง พระเจ้าอู่ทอง การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง, สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, ข้อมูลเพลง            อยุธยาเมืองเก่า มล ขาบ กุญชร ณ อยุธยา
  • ขอบคุณข้อมูล  http://www.ayutthaya.go.th/ เพลงกรุงศรีอยุธยา และ    หนังสือบทกวีนิพนธ์ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์
  • ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์
  • ข้อมูลตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์, ตำราโลกธาตุ
  • ข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร,
  • ข้อมูลอาจารย์ศ.ดุสิต,                                
  • ข้อมูลตำราอาจารย์พลูหลวง,
  • ข้อมูลตำราอาจารย์เล็ก พลูโต,
  • ข้อมูลตำราอาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์อักษร ไพบูลย์,และอาจารย์ประภาพร เลาหรัตนเวทย์
  • รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วยความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้

  • ความคิดเห็น