การขับดาวเคราะห์เข้าเรือนอุจ
ต่อจาก #เรื่องมาตรฐานดวงอุจจ์ exaltation
ในหนังสือโลกธาตุ
ยังมีพูดว่าดาวเคราะห์ทั้งแปดจะทราบว่าเป็นอุจหรือไม่ ต้องขับชะตากำเนิดเช็คดวงอุจเสียก่อน โดยได้พูดถึง ว่า " อฏฐจฺโจ ภควา ชิโน มีอุจ๘ อุจ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตำราว่าถ้ามีครบ ๘ องค์ ได้ถึงสัมมาสัมพุธเจ้า"
ดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลายแหล่งอ้างอิง และมีรูปดวงต่างๆกันค่ะ อาจารย์จำรัส ศิริ จึงตั้งข้อสังเกตุว่ามีความไม่ตรงกันสำหรับดวงชะตาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากปฏิทินโหราศาสตร์ของหลวงอรรถวาทีธรรมประวรรตก้บในโลกธาตุ เพราะจากโลกธาตุนั้น จะได้ดาวอุจทั้งแปดองค์ ซึ่งแตกต่างจากดวงชะตาจากปฏิทินโหราศาสตร์ของหลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต หากนำมาขับเข้าอุจตามสูตรของโลกธาตุ
ดังนั้นจึงควรพิจารณาวิธีการและดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากในตำราโลกธาตุก่อน คำว่า"การขับดวงชะตาเข้าอุจ" นั้น มีวิธีการคำนวณ อย่างไร
๑.ว่าเอาศักราชกำเนิดตั้งลงเอา ๑๒ หาร
๒.เอาเศษตั้งแปดฐานตามลำดับเอาเกณฑ์พระเคราะห์บวกตามลำดับเป็นพระเคราะห์
๓.เอา ๑๒ หารทุกฐาน ดูเศษแล้วนับแต่หลังพระเคราะห์นั้นไปตามเศษ วางพระเคราะห์ลงเท่าเศษทุกองค์
ขยายความเรื่องขับดวงชะตาจากตำราอาจารย์เทพ สาริกบุตร การขับดวงชะตาจะใช้จุลศักราช และตั้งเกณฑ์พระเคราะห์ ขออนุญาตนำดวงในตำราโลกธาตุกล่าวถึงมาประกอบเรื่องการขับดาวเคราะห์เข้าอุจค่ะ
ประสูติกาล ณ วัน ๖ ฯ ๖ ปีจอ อัฎฐศก ศักราช ๖๘ เวลา ๑๒:๐๐ น
วิธีการคือ นำศักราช ๖๘ หารด้วย ๑๒ เท่ากับ ๕ เศษคือ ๘
นำเศษคือ ๘ มาใช้ บวกกับเกณฑ์ของดาวเคราะห์ทุกดาว และหารด้วย ๑๒
เกณฑ์ของดาวอาทิตย์ ๑ คือ ๕
เกณฑ์ของดาวจันทร์ ๒ คือ ๑๐
เกณฑ์ของดาวอังคาร ๓ คือ ๙
เกณฑ์ของดาวพุธ๔ คือ ๑๒
เกณฑ์ของดาวพฤหัสบดี ๕ คือ ๑๑
เกณฑ์ของดาวศุกร์ ๖ คือ ๑๔
เกรฑ์ของดาวเสาร์ ๗ คือ ๙
เกณฑ์ของดาวราหู ๘ คือ ๗
ดังนั้น สำหรับดาวอาทิตย์ ๘ + ๕ = ๑๓ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๑
ดังนั้น สำหรับดาวจันทร์ ๘ + ๑๐ = ๑๘ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๖
ดังนั้น สำหรับดาวอังคาร ๘ +๙ = ๑๗ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๕
ดังนั้น สำหรับดาวพุธ ๘ + ๑๒ = ๒๐ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๘
ดังนั้น สำหรับดาวพฤหัสบดี ๘ + ๑๑ = ๑๙ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๗
ดังนั้น สำหรับดาวศุกร์ ๘ + ๑๔ = ๒๒ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๑๐
ดังนั้น สำหรับดาวเสาร์ ๘ + ๙ = ๑๗ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๕
ดังนั้น สำหรับดาวราหู ๘ + ๗ = ๑๕ หารด้วย ๑๒ ได้เศษ ๓
นำเศษมานับแต่หลังพระเคราะห์เดิม ตามทักษิณาวรรต (ถอยหลัง) ไปเท่าเศษทุกองค์และลงพระเคราะห์ในจักรราศีใหม่
ตามรูปจักรราศีดวงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นมีดาวสถิต อยู่ดังนี้คือ
ดาวเคราะห์ ราศีจักรเดิม นับถอยหลัง(เศษ) ตกในราศีจักรใหม่
๑ ๑ ๑ ๐
๒ ๗ ๖ ๑
๓ ๒ ๕ ๙
๔ ๑ ๘ ๕
๕ ๑๐ ๗ ๓
๖ ๑ ๒ ๑๑
๗ ๑๑ ๕ ๖
๘ ๑๐ ๓ ๗
จะเห็นว่ามีมหาอุจครบทั้งแปดองค์ สมกับคำพยากรณ์ ตามตำราโลกธาตุนี้คือการพิจารณามหาอุจไม่ได้ดูเฉพาะที่ดวงเดิม หรือดูที่องศาอย่างเดียว
ศักราชปีที่พระพุทธเจ้าประสูตินี้เรียกว่าอัญชันศักราช
นอกจากนี้ หากดาวนั้นได้อุจแล้วในทางทักษาเป็นศรี เดช มนตรี ด้วย ตำราว่าดีนัก หากเป็นกาลกิณีนั้นว่าร้ายนัก เว้นเสียแต่กาลกิณีนั้นเป็นอริ-มรณะ-วินาสน์แก่ลัคนาหรือตนุเศษ จึงให้โทษน้อยลง
อย่างไรก็ตามในการทำนายดวงชะตานั้น อย่าลืมว่าต้องพิจารณาดาวอุจว่ามาจากเรือนใดและอยู่ในเรือนใด ตำแนห่งดาวเจ้าเรือนที่มีดาวอุจเข็มแข็งหรือไม่ด้วยค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น