จันทร์โคจรร่วมพุธศุกร์

 วันจันทร์ แรม ๑๓-๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีขาล จ.ศ.๑๓๘๔ (๒๗-๒๘มิย ๒๕๖๕)


จันทร์ยังคงโคจรในราศีพฤษภ ร่วมดาวพุธและดาวศุกร์ที่โคจรอยู่ค่ะ ดาวศุภเคราะห์รวมตัวกันในราศีพฤษภให้คุณ ได้พบมิตร,มีลาภปากและโชคดีอาจได้ไปที่ทำให้เพลิดเพลิน,หรือได้สนทนากับคนมากหน้าหลายตา พอดีจันทร์ยกวันที่๒๘ มิย เข้าราศีมิถุน (หาอ่าน เพิ่มเรื่องดาวจันทร์ในราศีมิถุนได้ ค่ะ ที่ #ดาวจันทร์๒ดาวธาตุดิน  https://zodietcwise.blogspot.com/2020/07/blog-post_27.html )

ดาวจันทร์เป็นอุจจ์ ที่ ราศีพฤษภ ตำแหน่งนี้ จะทำให้มีไหวพริบในการทำธุรกิจ บริการคนเก่ง มักมีรายได้และการเงินดี เป็นคนมีเสน่ห์ มีสง่า ตำแหน่งนี้มีความหมายถึงการได้รับการอบรมสั่งสอนมารยาท และระเบียบวินัยจากมารดา ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง

ดาวทั้งสามมีพฤหัสบดีในราศีมีนเป็นโยคหลัง และเสาร์ที่ตรีโกณถึง ดังนั้นจะทำสิ่งใดให้มีความพอดี หรือ สมดุลย์ ปลงได้ก็ปลง ถ้าไม่ได้ดังใจหวังก็อย่าคิดมากมาย 

เนื่องจากพระเสาร์นั้นมีดาวเกตุเป็นศูนย์พาหะในราศีกุมภ์  เสาร์กับเกตุ ในทางหนึ่งตำราว่า กรณีเมื่อพระเกตุ๙ เป็นสองแก่พระเสาร์ ๗ จะทำให้มีความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้น, ล้มลุกคลุกคลาน,ต้องอดทนหรือมัธยัสถ์ส่วนอีกตำราว่า เกตุถึงเสาร์ก็อาจจะทำให้พบเพื่อนเก่าแก่ มีคนมาหาสู่ ได้ไปเจอเพื่อนเก่าๆหรือค้างอ้างแรมต่างจังหวัด ได้สังสรรค์เพื่อนเก่าด้วยค่ะ

ดาวทั้งสามนั้น เกตุถึงดาวศุกร์ก็ให้ระวังโรคผื่นคันต่างๆ

นอกจากนี้ การที่เสาร์พักรในปลายราศีมังกร (ต้นกุมภ์) ก็เป็นโยคกับราหูและมฤตยูจรในราศีเมษ ที่ตอนนี้มีดาวอังคารจรเข้ามา ก็ให้ระวัง อังคารราหู คู่ธาตุลม ครูท่านทัก ค่ะ อีกด้านคือ ระวังไฟ ,ของร้อนและไฟฟ้า

พูดถึง คัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง  เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่  ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ. 683 ม.ศ. 1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ซึ่งยืนยันว่าโลกกลม "แลเขาพระสุเมรุราชนั้นแลกลมไส้โดยรอบ"

เขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ ๑. ยุคนธร ๒. อิสินธร ๓. กรวิก ๔. สุทัศน์ ๕. เนมินธร ๖. วินันตก และ ๗.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้ เรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ ๗ ชั้น เรียกว่า สีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล

ขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีภูเขารองรับ๓ ลูก โดยส่วนฐานคือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ ๗ ทิว เรียกว่าสัตบริภัณฑ์ คือ ยุคนธร กรวิก อิสินธร สุทัศ เนมินธร วินันตกะและอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และบริวารสถิตอยู่

ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกันเป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล โดยแต่ละจักรวาลมีพระอาทิตย์,พระจันทร์,ดาวดึงส์ ยังมีมหาทวีปทั้ง ๔ คือ 

  • อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่เหนือของภูเขาพระสุเมรุ
  • บุพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
  • ชมพูทวีป ตั้งอยู่ตอนใต้เขาพระสุเมรุ คือโลกของเรา
  • อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ

ในมหาทวีปยังมีทวีปน้อย ๆ เป็นบริวารอีก ๒๐๐๐ ทวีป

ในเรื่องของการแบ่งทวีปตามจักรราศี เคยเขียนถึงในบทความเรื่อง การกำหนดทิศทางในภพ-ราศี #zodietcwise  อาจจะมีความไม่ตรงกันนัก เพราะมาจากคนละตำราค่ะ

สาระโหราศาสตร์ในไตรภูมิพระร่วง ที่นำมาเล่าโดยย่อ คือ นำมหาทวีปมาขยายความตามจักรราศีต่างๆ โดยคตินั้นไม่ได้หมายถึงภูมิศาสตร์ของทวีปที่มีอยู่จริง ได้ดังนี้คือ  

ราศี มีน  เมษ พฤษภ ให้ถือว่า อยู่ในอุตรกุรุทวีป "ฝูงชนในทวีปนี้หน้าเขาเป็น ๔มุมดังท่านแกล้งถากให้เป็น๔ เหลี่ยมกว้างแลรีนั้นเท่ากันแลฯ"    และกล่าวถึงสมบัติของมีค่าว่า เป็นทอง

ราศี เมถุน กรกฎ สิงห์  ให้ถือว่า อยู่ในบุพวิเทหทวีป "ฝูงชนในทวีปนี้หน้าเขาดังเดือนเพ็งแลกลมดังหน้าแว่นฯ" และกล่าวต่อถึงสมบัติของมีค่าว่าเป็นเงิน

ราศี กันย์ ตุลย์ พิจิก ให้ถือว่าชมพูทวีป " ฝูงชนในทวีปนี้หน้าเขาดังกุมเกวียน " และกล่าวถึงสมบัติของมีค่าว่าเป็นแก้วอินทนิลหรือแก้วสีดอกตะแบกหรือสีต่างๆ

ราศี ธนู มังกร กุมภ์ ให้ถือว่า อยู่ในอมรโคยานทวีป " ฝูงชนในทวีปนี้หน้าเขาดังเดือนแรม๘ค่ำผหน้าเรียวยาว)นั้นแลฯ"  และกล่าวถึงสมบัติของมีค่าว่าสมบัติของมีค่า เป็นแก้วผลึกอันเป็นสีขาว

 โดยในไตรภูมิพระร่วง ทวีปที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์แบบพวกเราน่าจะเป็น  “ชมพูทวีป” ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุเท่านั้น  ส่วนพระอาทิตย์พระจันทร์ โคจรเป็นวงอยู่รอบศูนย์กลางของจักรวาล คือเขาพระสุเมรุ   

หากสนใจลองหามาอ่านเพิ่มได้  นอกจากนี้จะเล่าถึงการเดินโคจรของพระอาทิตย์ซึ่งบอกว่าให้เรารู้วันคืนและรู้เหตุดีร้ายเพราะมีดาวนพเคราะห์และพระจันทร์ในวิถีด้วยค่ะโดยพระอาทิตย์จะเดินผ่านวิถี อันได้แก่

-โคณวิถี คำอธิบายว่าเป็นฤดูกาลที่มีน้ำบ้าง, แห้งบ้าง เป็นที่ชอบแห่งโค คือ ในฤดูหนาว อันเป็นเดือน ๑๒,๑,๒,๓ 

-อัชชวิถี คำอธิบายเป็นทางที่กันดารน้ำ สัตว์จำพวกแพะอยู่ได้ดีคือในฤดูร้อน ระหว่างเดือน ๔,๕,๖,๗   

-นาควิถี คำอธิบายทางที่นองไปด้วยน้ำ เป็นที่ชอบใจแห่งนาค คือในฤดูฝนระหว่างเดือน ๘,๙,๑๐,๑๑  

เรื่องทางเดินสามทางนี้ยังสับสนอยู่ในแง่ว่าดาวอาทิตย์อยู่ทวีปใดค่ะ ไม่ได้กล่าวชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงอัชชวิถีหรือฤดูร้อน นำมาบางส่วนตามด้านล่าง:

ช่วงที่พระอาทิตย์อยู่ในทวีปบุพวิเทหทวีป ในราศีเมถุน,กรกฎและสิงห์  เรียกลักษณะ"นานค่ำพลันรุ่ง คือ กลางวันมากกว่ากลางคืน ท่านกล่าวว่า เมื่อกลางวัน ๑๘นาที เมื่อกลางคืน ๑๒นาทีแล" 

ช่วงที่พระอาทิตย์โคจรในอุตรกุรุทวีปและชมพูทวีป "เมื่อกลางวัน๑๕นาทีจึงค่ำ เมื่อกลางคืน๑๕นาทีจึงรุ่ง " ในอุตรกุรุทวีปมีราศีเมษเป็นแกนกลาง ส่วนชมพูทวีปมีราศีตุลย์เป็นแกนกลาง เมื่ออาทิตย์ย่างเข้าสู่กลุ่มดาวฤกษ์อัศวินีแห่งราศีเมษ หรือกลุ่มดาวฤกษ์ในราศีตุลย์ กลางวันและกลางคืนจึงเท่ากัน

เป็นช่วงที่พระอาทิตย์โคจรในอมรโคยานทวีป ในราศีธนู,มังกรและกุมภ์ เรียกลักษณะ"นานรุ่งพลันค่ำคือ กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน  เมื่อกลางคืน๑๘นาที เมื่อกลางวัน๑๒นาทีแล  "

 กำหนดต้นฤดูแต่วันกลางเดือนของเดือนต้นภาคแล้วล้ำเข้าไปในเดือนต้นของฤดูที่ต่อกันอีก ๑๕ วัน 

ในเรื่องกำหนดเดือนตามวิถีนี้ กำหนดไว้พอเป็นประมาณ เพราะแต่ก่อนใช้เดือนทางจันทรคติ แต่ตามความจริงในทางโหราศาสตร์หมายถึงพระอาทิตย์โคจรตามฤกษ์ อ่านเพิ่มได้ เรื่องเกี่ยวกับฤกษ์จากบทความชื่อ การวางดาวจันทร์ลงในราศีและการคำนวณที่เกี่ยวข้อง#zodietcwise https://zodietcwise.blogspot.com/2020/08/zodietcwise.html คือ 

-พระอาทิตย์โคจรแต่ฤกษ์ ๑๗ อนุราธฤกษ์ถึงฤกษ์ที่ ๒๕ บุพพาภัทท รวมเป็น ๙ฤกษ์เป็นทางโคจรในโคณวิถี 

-เมื่อพระอาทิตย์ โคจรในฤกษ์ ๒๖ อุตตราภัททถึงฤกษ์ที่ ๗ ปุนัพพสุรวม๙ ฤกษ์เป็นทางใน   อัชชวิถี 

-เมื่อพระอาทิตย์ โคจร ใน ฤกษ์ที่ ๘ ปุสยฤกษ์ถึงฤกษ์ที่ ๑๖ วิสาขฤกษ์ รวม ๙ ฤกษ์เป็นทางโคจรในนาควิถี

และในที่สุดแห่งวิถีทั้ง ๓ คือ ฤกษ์บุพพาภัทท, ปุนัพพสุ, วิสาขเป็นตรีนิ เอกขัง คือ ลูกนวางศ์ที่ ๔ ของฤกษ์ เกี่ยวไปอยู่ในราศีข้างหน้า ๑ นวางศ์เรียกว่าฤกษ์เกี่ยว

 พูดถึงภูมิศาสตร์อันนำไปสู่การพิเคราะห์วิถีพระอาทิตย์และลัคนาดังนี้คือ

"เมื่อตะวันออกในแผ่นดินเราอยู่นี้ เป็นตะวันเที่ยงในบุพวิเทห แลเป็นตะวันตกแห่งอุตรกุรุทวีป เป็นเที่ยงในอมรโคยานทวีปฯ"

" ถ้าตะวันออกในบุพวิทหเป็นตะวันเที่ยงในอุตรกุรุ เป็นตะวันตกในอมรโคยานทวีป และเป้นเที่ยงคืนในชมพูทวีปเราอยู่นี้แล " จุดนี้เป็นจุดสำคัญ ท่านได้พรรณาถึงการหาลัคนาหรือจุดสถิตย์ต่างๆตามแผนภูมิด้านล่าง

คือถ้าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในบุพเวิเทหทวีป คือพระอาทิตย์โคจรในทวีปนี้ ถ้าเกิดตอนเที่ยงลัคนาจะอยู่ในอุตรกุรุทวีป ถ้าเกิดเมื่อพระอาทิตย์ตกก็จะอยู่ในอมรโคยานทวีป

ถ้าเกิดตอนเที่ยงคืน ก็จะอยู่ในชมพูทวีป หรือเกิดเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นก็จะอยู่ในบุรพวิเทหทวีปนั่นเอง คือทวีปอันเล็งกันจะอยู่ในสภาพตรงข้ามกันเสมอ ดังได้พรรณามาแล้วนั้น




  • ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
  • เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise 
  • ฝากกดติดตาม IG: https://www.instagram.com/zodietcwise/
  • สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทาง                                         ไลน์ LINE https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
  • ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย ไตรภูมิพระร่วง, https://www.sarakadee.com/2019/08/23/ancient-                     geography-2/
  • ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร,อาจารย์ศ.ดุสิต, ตำราอาจารย์          พลูหลวง,ตำราอาจารย์เล็ก พลูโต,อาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์อักษร ไพบูลย์, อาจารย์ประภาพร เลาห             รัตนเวทย์รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วย              ความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้
  •  



    ความคิดเห็น