สมอุราศุกร์ร่วมพุธา สวัสดี

 สมอุราศุกร์ร่วมพุธา สวัสดี

 วันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีขาล

 ช่วงนี้ดาวศุกร์จรเป็นเกษตรร่วมกับพุธที่มาโคจรในราศีพฤษภธาตุดินก่อนหน้า  ตำราว่า 

ดาวศุกร์ถือเป็นดาวศุภเคราะห์ที่ให้คุณและส่งผลในด้านลาภโดยเฉพาะ เมื่อโคจรองศาถึงดาวอะไรก็ตามย่อมจะนำลาภมาให้ ยิ่งสัมพันธ์ถึงลัคนา,อาทิตย์,จันทร์,พุธ,ศุกร์และพฤหัสบดี มักจะให้ผลแก่ชีวิตทำให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น จะได้เห็นของสวยงาม หรือพบรักหรือพบคู่ครองและมีการจัดบ้านใหม่ หรือตกแต่งให้สวยงามขึ้นหรืออาจจะมีผู้นำลาภมาให้ เว้นแต่ดาวเสาร์ที่เป็นคู่ศัตรูกัน เพราะเป็นดาวที่มีลักษณะตรงกันข้าม  

"   ศุกร์ต้องพุธกำเนิดใน จะคิดการใดก็ลุสำเร็จลาภา

หรือ ศุโกรโคจรเคลื่อนคลาถึงพุธทวารา จะได้ซึ่งโภคาคราม จักได้หญิงชายเหลือ   หลาย ดลโดยดูงามตระบัดจะได้โดยพลัน  "

หรือ

ดังนั้นจึงต้องพิจารณาดวงชะตาเดิม หาก เรือนนี้เป็นภพที่สามของเจ้าชะตา ก็จะเข้าตำรา ศุกร์สามจะเจริญ ยิ่งยศแฮ

เกี่ยวเนื่องเรื่องของดาวศุกร์ 

เลยนำรูปของดวงดาวในวันที่ ๒๔ มิย ๒๔๗๕ มาเป็นดวงครูตัวอย่าง เมื่อไปศึกษาค้นคว้ามาก็มี ศิลปินแห่งชาติ ท่านหนึ่ง  คือ คุณสอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ซึ่งเกิดในปีนั้น 

คุณสอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ ได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ - สาขาศิลปะการแสดง (โทรทัศน์และภาพยนตร์)  

ตามประวัติ ถือเป็นนักแสดง นักพากย์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ และผู้กำกับการแสดงชาวไทย ได้ไปเรียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิฮง กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในสาขาวิชาการภาพยนตร์  และวิชาโทรทัศน์จาก N.H.K. TV 

ท่านถือเป็นรุ่นแรกๆและ หนึ่งในพนักงานรุ่นบุกเบิกด้านการจัดรายการ ในปีแรกทำการของไทยทีวี ช่อง ๔ บางขุนพรหม และ ตัวบทพระเอกละครทีวีเรื่องแรก ดึกเสียแล้ว ของช่อง๔ (ปัจจุบันคือช่อง ช่อง ๙ เอ็มคอตเอชดี ) คุณ สอาดเป็นนักแสดงนำในละครใหญ่หลายเรื่อง รวมทั้งพระเอกละครที่สร้างจากอุปรากรที่มีชื่อเสียงของโลก ไอด้า คู่กับนักแสดงรับเชิญ อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ (ดาวราย) แห่งคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๐๔ ต่อมาสะอาดเดินทางไปญี่ปุ่นอีกครั้ง  เพื่อศึกษาเพิ่มเติมด้านโทรทัศน์สีที่ K.R.T. เมืองโอซากะ พ.ศ. ๒๕๑๐

หากดูจากภาพดวงดาวในวันที่ ๒๔ มิย ๒๔๗๕  จากข้อมูลตำรา นั้น ลัคนามิถุน ดาวพุธ,ศุกร์และอาทิตย์กุมลัคนา พุธ คือดาวการสื่อสาร การพากย์เสียงและการจัดรายการ เป็นนระองเกณฑ์ ดาวพฤหัสบดีเป็นอุจจ์กุมเกตุ และเจ้าเรือนกดุมพะจันทร์ไปอยูกับราหูเป็นเกษตร  รูปดวงมีดาวมฤตยูกุมเรือนกัมมะ(เรือนพฤหัสบดี) คือลอยอยู่เหนือศรีษะกลางฟ้า ดาวมฤตยู ตำราว่าเป็นดาวเกี่ยวกับ การประดิษฐ์ การสร้างสรรค์ การค้นคว้าให้ได้มา ในเรื่องแปลกใหม่ เป็นลักษณะของการสร้างสรรค์ศิลปะวิทยา ทำให้มีการคิดในระบบใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งก็คือการเริ่มต้นของการออกอากาศของระบบทีวีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ นวัตกรรมใหม่  

สำหรับความพยายามในการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์มีมาตั้งแต่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเริ่มก็เกิดการปฏิวัติโดยคณะราษฎร์ขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น และพอสงครามจบลงก็ได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นอีกครั้งขึ้น

โดยในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ ได้มีการตีข่าวเกี่ยวกับปรากฎการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในทวีปยุโรปและอเมริกาขึ้น รัฐบาลไทยพอได้ทราบข่าวจึงอยากจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาบ้าง แต่มีการคัดค้านจากประชาชนในขณะนั้น เนื่องจากประเทศไทยเองยังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่ จึงยังไม่พร้อมที่จะลงทุนในกิจการโทรทัศน์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้อธิบดีกรมโฆษณา (ปัจจุบันคือ กรมประชาสัมพันธ์) จัดตั้งบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัดขึ้น โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นอยู่ที่ ๒๐ ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ และได้เตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานที่บริษัท RCA ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเตรียมความพร้อมด้วยการเปิดประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์อีกด้วย นอกจากนี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงบัญญัติศัพท์ “วิทยุโทรทัศน์” ทดแทนคำว่า “Television” อีกด้วย

ช่อง๔ บางขุนพรหมได้ถือกำเนิดขึ้น มีอาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง๔ภายในวังบางขุนพรหม ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย (จึงเป็นที่มาของชื่อ ที่ผู้ชมทั่วไปเรียกว่า "ช่อง ๔ บางขุนพรหม") 

ช่อง๔ ได้เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘  ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำทางช่องสัญญาณที่ ๔  ตามรูปดวงดาวโคจรวันนั้น ดาวมฤตยูโคจรอยู่ราศีกรกฎ เรือนพันธุดวงเมืองร่วมกับดาวพฤหัสบดี(ศุภะของดวงเมือง)ซึ่งเป็นอุจจ์มีเกตุจรเป็นตรีโกณฑ์ โดยในเรือนสหัชชะนั้นดาวอังคารเล็งกับราหูคู่ธาตุลมและมีดาวอาทิตย์ราชาโชคสนับสนุน

เพิ่มเติม สำหรับช่อง๔บางขุนพรหม นั้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสีทางช่องสัญญาณที่ ๙ และตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗  ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัลช่องหมายเลข ๓๐ ปัจจุบันคือช่อง ช่อง ๙ เอ็มคอตเอชดี MCOT HD

หากสนใจเรื่องประวัติของศิลปินแห่งชาติ คุณสอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ หรือเรื่องราว ประวัติศาสตร์การวิทยุโทรทัศน์และการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง  หาอ่านได้เพิ่มเติมค่ะ

รูปนี้เป็นรูปของสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเป็นเครื่องเล่นเทปรีลหลอด มีใช้กันเพียงแค่ในสถานีวิทยุหรือห้องอัดเสียงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอันล่างน่าจะเป็นเครื่องเล่นเทปแปดแทรคค่ะ



  • ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
  • เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise 
  • ฝากกดติดตาม IG: https://www.instagram.com/zodietcwise/
  • สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทาง                                         ไลน์ LINE https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
  • ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย 
  • ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร,อาจารย์ศ.ดุสิต, ตำราอาจารย์          พลูหลวง,ตำราอาจารย์เล็ก พลูโต, ,อาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์อักษร ไพบูลย์, อาจารย์ประภาพร เลาห          รัตนเวทย์รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วย              ความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้
  •  




    ความคิดเห็น