วันศุกร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีขาล
ศุกรวาร สวัสดี
ศุกร์ โคจรเข้าราศีเมษวันที่ ๒๕ พค ๖๕ แล้วค่ะ โหราศาสตร์ไทยมีคำกลอนกล่าวว่า" ดูโภคทรัพย์ให้ทายศุกร์ หรือกิเลสกำดัดทายศุกร์ " ตำแหน่งศุกร์ในราศีเมษคือ อุจจาภิมุขและประ
๑.ความเป็นอุจจภิมุข คือ ได้รับพลังที่ดีของศุกร์ มหาอุจจ์ในราศีมีน จึงมักส่งผลในมักพบคนรักที่มีฐานะทางการเงินการงาน การศึกษาดี มีความเด่นอย่างใดอย่างหนึ่งและมีความเป็นผู้นำ
๒.ความเป็นประ คือ จะอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งดาวเกษตร ดังนั้นความหมายในทางโหราศาสตร์ก็ตรงกันข้ามด้วย ดาวประเกษตร จะมีความหมายในหลายๆตำราว่าไม่มั่นคง น้อย ขาดๆหายๆ แต่ยังไม่ได้แปลว่าดี หรือไม่ดี (แต่ในอดีตทางโหราศาสตร์ไทย มักจะตีความว่า เป็นร้ายไว้ก่อน เพราะดาวจะไม่แน่นอนไม่มั่นคง เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้) คำว่าประนั้นมีได้ถึง ๔ ความหมาย คือ
๑.ความหมายเทียบเท่ากับ การไม่แน่นอน
การเปลี่ยนแปลงแนวที่คุณไม่ได้นึกถึงมาก่อน
๒.ความหมายเทียบเท่ากับ อื่นๆ
ตัวอย่าง คือ การถูกสั่งให้รับงานของผู้อื่นที่ทำค้างไว้หรือรับช่วงงานต่อจากผู้อื่นหรือเป็นงานโหลที่มีผู้อื่นทำกันทั่วไป
๓.ความหมายเทียบเท่ากับ ตรงข้าม
ตัวอย่าง คืองานที่คุณทำเป็นอาชีพมักเป็นงานที่คุณไม่ได้ร่ำเรียนมาก่อนๆหรือไปทำอาชีพที่ตรงข้ามกับสายที่เรียนมาเลย
๔.ความหมายเทียบเท่ากับ ข้างหน้า สำหรับในกรณีดวงจรสามารถใช้ ทำนายได้ สำหรับผู้ดูดวงที่อยากทราบว่า สิ่งในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะดีขึ้นหรือเลวกว่าเดิม อะไรอย่างนี้เป็นต้น วิธีที่จะดูก็คือ ตรวจดูว่าราศีที่ดาวประคือดาวศุกร์สถิตอยู่คือภพอะไรของดวงชะตา มีดาวอะไรเข้ามากระทบหรือสัมพันธ์ในขณะนั้นบ้าง ส่งผลดีหรือร้ายให้กับดาวศุกร์นั้นอย่างไร อย่าลืมเรื่อง การกระทบกัน หรือสัมพันธ์กันของดาว มี ๑.กุมกัน ๒.เล็งกัน ๓.ร่วมธาตุ(ตรีโกณ) ๔.ร่วมเรือนเกษตรเดียวกัน ๕.แลกเรือนเกษตรกัน อ่านเพิ่มได้จาก เรื่อง
ราศีกุมภ์ กับ ตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่น่าสนใจ https://zodietcwise.blogspot.com/2022/03/blog-post_72.html
เมื่อเป็นดาวศุกร์ ก็จะต้องเกี่ยวกับ เรื่อง เงิน/รายได้หรือความรักหรือการกิน/ความต้องการหรืออุปสงค์หรือศิลปะ-ดนตรี เป็นหลัก ค่ะ ตรียางค์แรกในราศีเมษที่ดาวศุกร์โคจรเข้ามานั้น เป็นตรียางค์พิษนาคค่ะ
ส่วนดาวพฤหัสบดีโคจรในราศีมีนข้ามตรียางค์แรกคือตรียางค์โดนพิษนาคในราศีมีนแล้วจรร่วมดาวเกตุ
หากสนใจอ่านบทความเรื่อง เกี่ยวกับตรียางค์ในแต่ละราศีอ่านได้จากเรื่อง
ฤกษ์ต่างๆมาจากดาวนักษัตรที่มีจำนวน ๒๗ กลุ่มฤกษ์ ต่อจากเรื่องของตรียางค์และนวางค์ (ตอน๑-๔)
https://zodietcwise.blogspot.com/2020/07/blog-post_24.html
อันเนื่องจากอิทธอชิพลของดาวศุกร์หรือความอยาก ในประเด็นของอาหาร จึงขอนำเรื่องของ โทณปากสูตร พระสูตรว่าด้วยการประมาณในโภชนะ มากล่าวถึงค่ะ
" มนุชสฺส สทา สตีมโต มตฺตํ ชานโต ลทฺธโภชเน ตนุกสฺส ภวนฺติ เวทนา สณิกํ ชีรติ อายุ ปาลยนฺติ
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา
ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนา "
เรื่องราวมีอยู่ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่งทะนาน ครั้งนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง
ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
นั้นเสวยแล้วทรงอึดอัด จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาข้งบน ในเวลานั้น
สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ ลำดับนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัสสนมาณพมารับสั่งว่า
มาเถิด เจ้าสุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวใน เวลาเราบริโภคอาหาร อนึ่ง เราจะให้นิตยภัตแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน ฯ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงดำรงอยู่โดยมีพระกระยาหารหนึ่งทะนานข้าวสุกเป็นอย่างมาก
เป็นลำดับมา ฯ
ในลำดับต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี ทรงลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์
ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์
ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้าหนอ ฯ
- ขอบคุณที่อ่านและกดติดตามในบล็อก https://zodietcwise.blogspot.com
- เป็นเพื่อนและกดถูกใจใน FB #zodietcwise
- สนใจดูดวงนัดติดต่อ Inbox มาได้เลยจ้า หรือ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทางไลน์ LINE https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
- ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย, https://84000.org/tipitaka พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
- ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์ศ.ดุสิต, ตำราอาจารย์พลูหลวง,ตำราอาจารย์เล็ก พลูโต, ,อาจารย์จำรัส ศิริ,อาจารย์อักษร ไพบูลย์, อาจารย์ประภาพร เลาหรัตนเวทย์ รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วยความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น