พระไพศรพณ์ (พลูโต pluto)
ภาษากรีกเรียก พลูโต (Pluto) หรือฮาดีส (Hades) เป็นโอรสของโครนัสกับเทพีรีอา และถูกบิดากลีนไว้ในท้องเช่นเดียวกับเนปจุฯ และถูกบังคับให้ขยอกออกมาในคราวเดียวกัน เป็นสวามีของเทพธิดาโแรเซอร์ฟิน ธิดาของแม่โพสพ (สากล) จูปิเตอร์ได้มอบหมายให้ปกครองนรกตาตะรัส หรือโลกบาดาลภารตะ จึงขนานนามว่า " พระยม "
ในนรกตาตะรัสของกรีก นั้นมีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูก พาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดาแมนธัส ,ไมนอส และ ออร์คัส วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตาตะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดีจะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีก
เฮดีส เป็นแทพแห่งโลกใต้พิภพ ที่ปกครองโลกข้างล่างทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นเทพที่รำ่รวยที่สุดใน บรรดาเหล่าทวยเทพทั้งหลาย เฮดีสเป็นเทพที่มีความยุติธรรมอย่างมาก เพาะเขารู้ว่า ไม่ว่าคนจะมาจากไหนก็ล้วนแต่ต้องตายกันหมด ดั้งนั้นจึงเป็นผู้มีความเที่ยงธรรม และความซื่อตรงอย่างมาก
ส่วนในประเทศไทยมีคติการบูชาท้าวเวสุวัณอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า พระไพศรพณ์ ตามนามในภาษาสันสกฤต ไวศฺรวณ มือขวาถือตะบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้(เทวดา)ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์ ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของอัยการมานาน คาดว่าตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้วเนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์ในสวรรค์
ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยไคลด์ ทอมบอ และถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่๙ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ความรู้ที่ว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่เป็นน้ำแข็งเริ่มถูกคัดค้านจากนักดาราศาสตร์หลายคนที่เรียกร้องให้มีการจัดสถานะของดาวพลูโตใหม่ ภายหลังถูกลดสถานะความเป็นดาวเคราะห์ลง และเรียกว่าดาวพระเคราะห์แคระ นิยามดาวเคราะห์แคระคือ
- อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์
- มีมวลพอเพียงที่จะมีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เพื่อเอาชนะแรง rigid body forces ทำให้รูปทรงมีสมดุลไฮโดรสแตติก (เกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์)
- ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
- ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
ขอบคุณข้อมูลจากวิกีพีเดีย
พลูโตจะนำมาใช้ในโหราศาสตร์สากล ค่ะ แต่รายละเอียดไว้จะกล่าวถึงภายหลัง เนื่องจากเป็นคนละระบบกัน
ในโหราศาสตร์ไทยของท่านอาจารย์พลูหลวงที่ได้จัดให้พลูโต(พ)เป็นเกษตร ราศีเมษ เป็นดาวต้นธาตุไฟ ตามรูปค่ะมักเรียกว่า ดาวพระเคราะห์แคระ เป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อชะตาไม่น้อย( ส่วนใหญ่นำมาดูเหตุการณ์สำคัญๆในโลก,เศรษฐกิจ,การเมือง,ระดับประเทศต่างๆ,บุคคลสำคัญ) แม้ว่าการเคลื่อนย้ายราศีแต่ละครั้ง อาจยาวนานึง ๒๐ปีกว่าๆ ก็ตาม
บุคคลที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพลูโต คือ พลูโตกุมลัคน์หรือกุมดาวเจ้าเรือนลัคน์ หรือในเรือนกัมมะหรือภพที่๒ มีพลูโตเป็นศูนย์พาหะ
ดังนั้นตำแหน่งเกษตรใหม่ตามตำราอาจารย์พลูหลวงจะแบ่งดาวเคราะห์เป็น
-ดาวฝ่ายศุภเคราะห์คือ ดาวจันทร์๒,ดาวพฤหัสบดี ๕, ดาวศุกร์ ๖
-ดาวบาปเคราะห์ คือ ดาวอังคาร๓, ดาวเสาร์๗, ดาวมฤตยู๐, ดาวเนปจูน ♆
-ดาวฝ่ายกลาง หรืออัพยากฤต คือดาวอาทิตย์๑, ดาวพลูโต(พ หรือ ♇)
ส่วน ราหู๘ กับเกตุ ๙ ไม่ใช่ดาวเคราะห์ เป็นจุดคำนวณขึ้นจากผลของคราสระหว่างโลก อาทิตย์และจันทร์ ถือว่าเป็นจุดให้โทษเช่นเดียวกับฝ่ายบาปเคราะห์ ราหูและเกตุเป็นจุดคราสหรือจุดมืด เมื่อไปทับศุภเคราะห์ ก็ย่อมจะให้โทษแก่ฝ่ายศุภเคราะห์นั้นๆถ้าไปทับฝ่ายบาปเคราะห์ย่อมจะลดถอยความร้ายแรงลงไปบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเสาร์คือคู่มิตรของราหูและราหูโคจรมาทับเสาร์ก็จะได้ลาภด้วยอานุภาพจุดคราสของราหูได้ไปดับความร้ายของเสาร์เสีย จึงคั้นเอาผลดีออกมา ดาวเคราะห์ทุกดวงย่อมมีดีและร้ายคละกัน
ตามระบบเดิมนั้นเกษตรสองเรือน มีดาวเข้าประจำราศีเพียง๗ ดวง แต่ ในระบบของอาจารย์ พลูหลวงนั้น เมื่อมีการค้นพบดาวใหม่ๆขึ้นมา จึงได้เอามาจัดเป็นเกษตรแบบใหม่เรียงลำดับตำแหน่งของดาวจากความใกล้ไกลดวงอาทิตย์ เริ่มจาก
-ดาวอาทิตย์ ๑เป็นดาวเกษตรในราศีสิงห์
-ดาวพุธ๔ เป็นดาวเกษตรในราศีกันย์
-ดาวศุกร์ ๖ เป็นดาวเกษตรในราศีตุลย์
-ดาวอังคาร๓เป็นดาวเกษตรในราศีพิจิก
-ดาวพฤหัสบดี ๕เป็นเกษตรในราศีธนู
-ดาวเสาร์ ๗ เป็นเกษตรในราศีมังกร
-ดาวมฤตยู ๐ เป็นเกษตรในราศีกุมภ์
-ดาวเนปจูน (น) เป็นเกษตรในราศีมีน
-ดาวพลูโต (พ) เป็นเกษตรในราศีเมษ
-ดาวแบคคัส (บ) ซึ่งเป็นดาวที่ค้นพบล่าสุด นักดาราศาสตร์เรียกดาวนี้ว่า ทรานสพลูโต (คืออยู่ไกลจากดาวพลูโตออกไป) เป็นเกษตรในราศีพฤษภ
-ดาวราหู๘ กับเกตุ๙เป็นเกษตรในราศีเมถุน
-ดาวจันทร์ ๒ เป็นเกษตรในราศีกรกฎ
ขอบคุณค่ะ#zodietcwise และฝากอ่านเรื่องต่างๆในบล็อกด้วยค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น