อุบลโชค หรือปทุมโชค
ตำราว่าเรื่องอุบลโชคหรือปทุมโชคนี้ บางทีเรียกว่าบุปผาโชคก็เป็นตำราที่ขับอายุเข้าจักรอย่างหนึ่ง ยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายนัก แต่เห็นว่าเป็นตำราเก่ามาก ควรจะนำมาเผยแพร่ไว้ค่ะ ตามตำรานี้เปรียบด้วยดอกไม้อันได้แก่ดอกบัว จึงเรียกว่า อุบลโชค บ้างก็ใชคำว่าบุปผาโชค ในกรณีนี้หากพูดถึงดอกบัวจึงเริ่มต้นที่
ราศีตุลย์เป็นดอกบัวใต้น้ำ เรียกว่า เพ็จ แปลว่าเล็ก คือดอกไม้นั้นแรกเกิดยังเล็กอยู่จนกระทั้งไปโผล่ที่ราศีเมษ เรียกว่าราศีตูม และคลี่กลีบที่ราศีพฤษภกับมีน บานที่ราศีเมถุนกับกุมภ์ และบานต่อในราศีกรกฎกับมังกร แล้ววายคือเหี่ยวที่ราศีสิงห์กับธนู ลันหรือลั่นคือกลีบหักหลุดร่วงไปที่ราศีกันย์และพฤศจิก
ในการทำนายนั้น คำพยากรณ์ราศีเพ็จ,ตูม,บาน เป็นราศีที่ดีทั้งนั้น วายและลันเป็นส่วนที่ชั่ว
วิธีการคำนวณให้รู้ว่าโชคอายุตกเขตดีและชั่วนั้นมีรายละเอียดดังนี้คือ
สิทธิการิยะ ถ้าจะทำอุบลโชค ท่านให้ตั้งมหาศักราชกำเนิดลงเอาอายุโหราบวก แลัวนับแต่พฤหัสบดีโคจรไปถึงพฤหัสบดีกำเนิดได้กี่ราศี เอาจำนวน ราศีที่นับได้นั้นมาคูณ แล้วเอา /๒ หาร ลัพธ์ยกเสีย มีเศษเท่าใด ให้นับแต่ลัคน์ไปเท่าเศษ ตกราศีใดให้พยากรณ์ ดังต่อไปนี้
๐ถ้าตกราศีตูม จะต้องจากที่อยู่แล้วจะได้ลาภ
๐ถ้าตกราศีคลี่ จะได้สมบัติในปีนั้น
๐ถ้าตกราศีบาน จะได้สมบัติยิ่งกว่าแต่ก่อน
๐ถ้าตกราศีวาย จะเสียเงินทองข้าวของแล
๐ถ้าตกราศีลัน ชะตาลง จะถอยจากสมบัติแล
๐ถ้าตกจากราศีเพ็จ ว่าชะตาขึ้น แล้วจะได้แก้วแหวนเงินทอง บริวาร ยศเป็นอันมากในปีนั้นแล
การหามหาศักราชนั้น ให้ตั้งจุลศักราชกำเนิดลง แล้วเอา ๕๖๐ บวกเป็นมหาศักราชกำเนิด จุลศักราชนั้น เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ (ค.ศ. ๖๓๘) นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน อ่านเพิ่มเติมได้ใน #จุุลศักราช คืออะไร? #อาสยุชมาสคืออะไร?
เกร็ดมหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ หรือ พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78) ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670) ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144
เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่ สันนิษฐานว่าอาณาจักรอยุธยา เลิกใช้มหาศักราชจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ และเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
สำหรับมหาศักราชเมื่อแปลงเป็นพุทธศักราช ให้นำ ๖๒๑ บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช หากจะแปลงพุทธศักราชเป็นมหาศักราชก็ทำได้ด้วยการนำ๖๒๑ ลบกับปีพุทธศักราชนั้น จะได้ปีมหาศักราช (ขอบคุณข้อมูลวิกีพีเดีย)
กรณีตำราที่ใช้จุลศักราชปัจจุบันเป้นตัวตั้งแล้วเอาอายุโหรบวกดังวิธีดังกล่าว
๐ ผิวจะคำนวณชะตาแต่ละปีๆ ให้รู้จักดี-ร้าย ให้ตั้งศักราชปีนั้นลง(จุลศักราช) แล้วเอาอายุโหราบวก แล้วนับแต่พฤหัสบดีจรมาหาพฤหัสบดีกำเนิดได้กี่ราศี เอามาคูณ แล้วเอา๑๒หาร มีเศษเท่าไหร่ให้ นับแต่พฤหัสบดีกำเนิดไปเท่าเศษ
-ถ้าตกราศีมิถุน กรกฎ มังกร กุมภ์ ชื่อราศีบาน จะได้ข้าคนทรัพย์สมบัติ จะได้เป็นใหญ่ในหมู่ชน
-ถ้าตกราศีสิงห์ ธนู ชื่อราศีเสียชะตาลง จะเสียข้าวของผู้คนหรือเสียตน
-ถ้าตกราศีกันย์ พฤศจิก ชื่อราศีไหว ชะตาลงร้ายนัก ถ้ามีพีะเคราะห์ต้องลัคน์
ต้องจันทร์ด้วยไซร้ ตนจะตายหรือจะเสียทรัพย์
-ถ้าตกราศีพฤษภและมีนชื่อราศีขึ้น จะได้ลาภอันพึงใจ
-ถ้าตกราศีตุล ชื่อราศีเพ็จ ชะตาขึ้นมีโชคใหญ่จะได้ลาภสัตว์ ๔เท้า ๒เท้า
ที่ดินไร่นา
-ถ้าตกราศีเมษ ชื่อราศีตูมว่าจะต้องจากที่อยู่เสียก่อน แล้วจึงจะได้เมียสาวสูง
ใหญ่แล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น