เริ่มเขียนวันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ปีฉลู
ดาวอาทิตย์จรยกเข้าราศีกรกฎเป็นมหาจักรค่ะในวันที่๑๗ กค พุธที่จรตามกันมาก็เดินเสริดจะยกมาเข้าราศีกรกฎในวันที่ ๒๐ กค
จันทร์จรเข้าราศีตุลย์ค่ะในวัยเสาร์
ส่วนอังคารจรและคู่มิตรดาวศุกร์เข้าราศีสิงห์ เจอกับดาวเกตุ
ดาวอังคารและศุกร์นั้นเป็นดาวขยันหาทรัพย์และขยันหาคู่ครอง ผู้มีดาวคู่นี้ในตำแหน่งที่ดีมักรำ่รวย ตามที่เรียกว่า ศุกร์ปากหวานอังคารรับเอาค่ะ แต่เมื่อจรคู่กันองศาใกล้กันมากตำราว่าไม่ดีนักในตอนยกเข้าราศีสิงห์
จรเข้าราศีสิงห์ซึ่งเป็นราศีของดาวอาทิตย์นั้นศุกร์ถือเป็นดาวคู่สมพลกับอาทิตย์ และในดวงเมือง ปีนี้ดวงเมืองศุกร์เป็นศรีและอังคารเป็นมนตรี เข้าเรือนปุตตะจะเกิดความก้าวหน้าทางการแพทย์ เพราะในราศีกุมภ์นั้นดาวพฤหัสจรในมุมเล็งกับดาวอังคาร คู่สมพลค่ะ ในช่วงปลายเดือน กรกฎาคม ทั้ง อังคาร,ศุกร์และเกตุ จะเข้าสนับสนุน ดาวพฤหัสบดีที่จรในราศีกุมภ์ค่ะ
นอกจากนี้อังคารจรเข้าราศีสิงห์จะส่งเกณฑ์สี่ไปราศีพิจิก และเกณฑ์แปดไปยังราศีเมษด้วยค่ะ
ส่วนการเดินจรของอาทิตย์ในราศีกรกฎนั้นเป็นตำแหน่งมหาจักรที่มีพุธจรเข้า ต้องตามเหตุการณ์ในเรือนพันธุของดวงเมืองดวงโลก และเป็นเรื่องในทิศเหนือ (อ่านเพิ่มบทความเดิม เรื่องการกำหนดทิศทางในภพหรือราศี#zodietcwiseได้ค่ะ ) เพราะพุธมาจากเรือนสหัชชะและอริในดวงเมืองดวงโลกค่ะ
วันนี้เป็นวันหยุดและ เป็นช่วงที่มีการยกระดับมาตราการควบคุมพื้นที่สีแดงของสถานการณ์โควิต๑๙
ฉันท์ จากข้อมูลของวิกีพีเดีย เป็นลักษณ์หนึ่งของการประพันธ์ประเภทร้อยกรองในวรรณคดีไทยที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ
ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๓ เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทย โดยในคัมภีร์วุตโตทัยจะมี๑๐๘ชนิด ฉันท์วรรณพฤติ ซึ่งบังคับพยางค์ จำนวน๘๑ ชนิด กับ ฉันท์มาตราพฤติ ซึ่งบังคับมาตรา จำนวน ๒๗ ชนิด
ขอยกตัวอย่าง คำฉันท์ สองชนิด ที่อาจจะได้ยินกันบ้างคือ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี ๑๑ แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์ มีข้อบังคับ ครุและลหุ
หนึ่งบทมี ๒ บาท บาทละ ๑๑ พยางค์ แบ่งเป็น ๒ วรรค วรรคแรก๕ พยางค์ วรรคหลัง ๖ พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
แลหลังก็หลั่งโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต
หนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์ แต่งโดยนายชิต บุรทัตได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นับเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของกวีผู้นี้ มีคุณค่าทางวรรณสิลป์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล ว่าด้วยการใช้เล่ห์อุบายของพระเจ้าอชาตศัตรูเพื่อทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี กรุงเวสาลี แห่งแคว้นวัชชี เนื้อความนี้มีปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร แห่งพระไตรปิฎก และอรรถกถาสุมังคลวิสาสินีค่ะ การส่งวัสสการพราหมณ์เข้าไปสอนลูกหลานกษัตริย์ลิจฉวีและยุยงให้เกิดการวิวาท และเป็นเหตุให้ความสามัคคีในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลง เมื่อนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้กรีธาทัพสู่เมืองเวสาลี สามารถปราบแคว้นวัชชีลงได้อย่างง่ายดาย โดยวัสสการพราหมณ์เป็นผู้มาเปิดประตูเมืองให้แก่พระเจ้าอชาตศัตรูค่ะ ช่วงวันหยุดหากสนใจ หาอ่านดูได้ค่ะ
ขอบคุณค่ะ#zodietcwise และฝากอ่านเรื่องต่างๆในบล็อกด้วยค่ะ
หากสนใจดูดวง อินบ็อกซ์มาได้เลยค่ะ หรือจะนัดให้ทำนายทางไลน์ก็ได้ค่ะ https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น