วันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีฉลู
ดาวอังคารแม้จะเป็นนิจ(ความหมายนั้นได้ทั้งสองด้านแล้วแต่ตำแหน่งอังคารในดวงชะตาเดิม) ก็ส่งกำลังเต็มที่ราศีที่อังคารเข้าสถิตย์อยู่ ราศีที่๔ ราศีที่๗ และ ราศีที่๘จากราศีที่อังคารสถิตย์อยู่ ตามที่เคยพูดถึงในบทความ การส่งกำลังของดาวเคราะห์(เกณฑ์) #zodietcwise
หากพิจารณาจากตัวอย่างดวงเมือง นั้นมีดาวจันทร์อยู่เป็นเกษตรในราศีกกรกฎจึงถือเป็นเกณฑ์๑ของดาวอังคารจร และมีเสาร์จรเป็นเกณฑ์๗ เล็งกัน กับอังคารจร ๑๐๐% แต่การที่อังคารจรนั้น เดินเร็วค่ะ อยู่ในราศีกรกฎ ปกติดาวอังคาร๓โคจรวันละ ๔๕ ลิปดา และยกเข้าสิงห์วันที่๒๐ กรกฎาคม
ส่วนเกณฑ์๔ คือราศีตุลย์ และเกณฑ์๘ คือ ดาวพฤหัสบดีจรในราศีกุมภ์ ดาวอังคารมีความหมายในหลายประเด็นค่ะ ตามความหมายของดาว และความหมายของทักษาจรปีนี้ ในดวงเมืองคือตำแหน่งมนตรี คือ
๑.งานวางแผน หรือการคิดคำนวณ
๒.งานที่ต้องเสี่ยงภัย, งานช่าง วิศวะ งานอาศัยแรงกำลังกล้าหาญ
๓.การปราบปราม.การต่อสู้เอาชนะ
๔.การผ่าตัด โลหิต อุปกรณ์ทางการแพทย์ การรักษาชีวิต
เหล่านี้ต้องให้ดาวอังคารเข้ามาสัมพันธ์ ยิ่งมีกระแสถึงดาวพฤหัสบดีด้วย ซึ่งจะพักรในวันที่๑๕มิถุนายน ถึง๒๕ตุลาคม ดาวพฤหัสบดีเองก็จะส่งกำลังเต็มที่ในราศีที่พฤหัสบดีที่เข้าสถิตย์อยู่ราศีที่ ๕ ราศีที่๗ และราศีที่๙จากราศีที่พฤหัสสถิตย์อยู่ พิจารณาในตอนพักรนั้น เกณฑ์๕ คือราศี ตุลย์ และเกณฑ์๙คือราศีมิถุน
ส่วนดาวเสาร์จรนั้นเล็งดาวจันทร์ในดวงเมือง แม้จะเริ่มเดินพักรคือการลดความแรงของดาวเสาร์ แต่ก็ยังมีการส่งเกณฑ์เช่นกันไปยังราศีที่ ๓ ,๗และ๑๐ โดยการร์พักรดังนั้น ราศีพิจิกเป็นเกณฑ์๓, ราศีกรกฎเป็นเกณฑ์๗และราศีเมษเป็นเกณฑ์๑๐
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มาของประวัติโรงพยาบาลศิริราชค่ะ จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sirirajhospital/history.php
ในอดีตนั้น อหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม ๔๘ ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ
ดังนั้นเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรก ณ บริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการค่ะในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ พระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๓๐ ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยิ่งนักถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณวังหลังดังกล่าว นอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย
ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น ๖ หลัง และเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล” หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาลวังหลัง” โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย โดยวันที่๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนแพทย์อย่างเป็นทางการ และพระราชทานนามว่า “ราชแพทยาลัย” ซึ่งเป็นนามดั้งเดิมของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปัจจุบัน
ในระยะที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงเป็นผู้บัญชาการราชแพทยาลัยได้ทรงโน้มน้าวพระทัย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก) ให้สนพระทัยวิชาแพทย์ โดยเสด็จพระราชดำเนินศึกษาต่อด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาเป็นเบื้องต้น และทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตในเวลาต่อมา
ขอบคุณค่ะ#zodietcwise และฝากอ่านเรื่องต่างๆในบล็อกด้วยค่ะ
หากสนใจดูดวง อินบ็อกซ์มาได้เลยค่ะ หรือจะนัดให้ทำนายทางไลน์ก็ได้ค่ะ https://line.me/ti/p/DxUHcrL7-M
ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร, อาจารย์ศ.ดุสิต,อาจารย์พันเอก(พิเศษ)เอื้อน มนเทียรทอง,อาจารย์ดำริห์ ไตรรัตน์ รวมทั้งหลายท่านอาจารย์และบรมครูโหราศาสตร์ที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วยความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น