การวางดาวจันทร์ลงในราศีและการคำนวณที่เกี่ยวข้อง#zodietcwise

การวางดาวจันทร์ลงในราศีและการคำนวณที่เกี่ยวข้อง

เป็นเกณฑ์สำคัญอันนึงในการพยากรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดวงสตรี เพราะการทายอารมณ์ ทายอุปนิสัย ทายคู่ครอง ทายผู้อุปถัมภ์ ทายโรคภัยหรือทายความสุขก็ดีจะต้องอาศัยดูดาวจันทร์เป็นปัจจัย ตามคำกลอนที่ว่า ทายรูปทายจริตให้ดูจันทร์

ตัวอย่างที่ยกมาเป็นข้อสังเกต ในเวลาอ่านจากปฏิทินโหราศาสตร์ เช่น
วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๐ ดาวจันทร์ยกขึ้นสู่ราศีมีน (ราศี ๑๑) เวลา๑๑.๓๓ น.
ก. คนเกิดก่อนเวลา ๑๑.๓๓น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีกุมภ์
ข.คนเกิดหลังเวลา๑๑.๓๓น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีมีน

วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๑๐ ดาวจันทร์ยกขึ้นสู่ราศีพฤษภ (ราศี ๑) เวลา ๑๐.๑๕ น.
ก. คนเกิดก่อนเวลา๑๐.๑๕น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีเมษ
ข.คนเกิดหลังเวลา๑๐.๑๕น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีพฤษภ

วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๐ ดาวจันทร์ยกขึ้นสู่ราศีกรกฎ (ราศี๓) เวลา๐๔.๓๕น.
ก. คนเกิดก่อนเวลา ๐๔.๓๕น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีเมถุน
ข.คนเกิดหลังเวลา๐๔.๓๕ น. วางดาวจันทร์ไว้ในราศีกรกฎ

สำหรับการคำนวณหาจันทร์เพื่อลงในแผ่นลัคนาดวงชะตาจากดิถี คือวันเกิดข้างขึ้นหรือวันเกิดข้างแรมนั้น มีวิธีการดังนี้คือ 

วิธีนับหาจันทร์ ท่านให้ตั้งดิถีกำเนิดลงแล้ว เอา๑๒คูณได้ผลเท่าใดให้เอา๓๐หารค่ะ เพราะ๑ราศีมี๓๐องศาให้นับจากหน้าอาทิตย์ในดวงชะตากำเนิดไปจนเท่าผลลัพธ์(นับเวียนซ้าย เช่นได้ผลลัพธ์ ๓ อาทิตย์อยู่ราศีเมษ นับหน้าอาทิตย์คือราศีพฤษ ไปหาราศีกรกฎวางจันทร์ในราศีนี้ค่ะ)

ถ้าเกิด ขึ้น๑ค่ำหรือ๒ค่ำ ไม่ต้องเอา๑๒คูณและ๓๐หาร ให้วางจันทร์ในราศีอาทิตย์อยู่ (จันทร์และอาทิตย์อยู่ราศีเดียวกัน)
ถ้าเกิดข้างแรมกี่ค่ำก็ตามให้เอา๑๕บวกแล้ว๑๒คูณ แล้ว๓๐หารได้ผลเท่าใดให้นับจากหน้าอาทิตย์จนหมดผลลัพธ์

ถ้าเกิดข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ตามเมื่อคำนวณได้เศษ๑๘ หรือ ๒๔ ให้เอา๑บวกผลลัพธ์ แล้วนับจากหน้าอาทิตย์ไปจนเท่าผลลัพธ์รวมทั้ง๑เพิ่มด้วย วางจันทร์ในราศีนั้นเช่นอาทิตย์อยู่ในราศีเมษคำนวณแล้วได้เศษ๑๘ หรือ๒๔ ผลลัพธ์คือ๒ จะต้องบวก๑ รวมเป็น๓ จะต้องนับจากหน้าอาทิตย์คือราศีพฤษภมาหากรกฎวางจันทร์ตรงราศีนี้
เช่น เกิด ๒๑ ตุลาคมพ.ศ.๒๔๘๘ คือวันอาทิตย์ขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑ปีระกา อยากทราบว่าจันทร์อยู่ที่ใด
ให้เอา๑๕ค่ำตั้งคูณด้วย๑๒แล้วหารด้วย๓๐ เท่ากับ๖ ให้นับจากหน้าอาทิตย์คือราศีพิจิกไปจนหมดผลลัพธ์วางจันทร์ไว้ในราศีเมษ

นอกจากนี้การคำนวณจันทร์ ๒ในดวงชะตาว่าอยู่ในฤกษ์ใด นั้นต้องอาศัยการหาสมผุสของดาวเสียก่อน เช่นอยากทราบว่าดวงชะตามีจันทร์ ๒ในราศีพิจิกสมผุส ๒๖ องศา ๔๕ ลิบดาจะไปอยู่ในฤกษ์ใด

ทบทวน มาตราหน่วยที่เกี่ยวข้องมีดังนี้คือ 
   ๑ ราศี เท่ากับ ๓๐องศา ,
   ๑ องศาเท่ากับ ๖๐ลิบดา, 
   ๑ ฤกษ์เท่ากับ ๘๐๐ลิบดา 
   และ๑ฤกษ์เท่ากับ๖๐นาทีฤกษ์

ดังนั้นการหาจันทร์ในกรณีนี้คือ
 วันที่๑มกราคม พ.ศ.๒๕๐๘ สมผุสจันทร์ใน  ๗ (ราศี) ๒๖(องศา) ๔๕(ลิบดา)
                                 ๗ *๓๐   = ๒๑๐
                                 ๒๖ +๒๑๐ = ๒๓๖
                                 ๒๓๖* ๖๐  =  ๑๔๑๖๐
                              ๔๕ + ๑๔๑๖๐ =  ๑๔๒๗๕
ทำลิบดาให้เป็นฤกษ์และนาทีฤกษ์  ๑๔๒๐๕ / ๘๐๐=   ๑๗ เศษ  ๖๐๕ 
เอาเศษ มาหา   นาทีฤกษ์   (๖๐๕ *๖๐)/ ๘๐๐= ๔๕เศษ ๓๐๐
ได้ฤกษ์ที่๑๗ นาทีฤกษ์ที่๔๕

ดาวจันทร์เป็นดาวที่ไปโคจรตามกลุ่มดาวฤกษ์๒๗กลุ่ม ขณะที่เจ้าชะตาปฏิสนธิเมื่อนำเวลามาผูกดวงชะตาจึงได้นำเอาดาวจันทร์๒มาพิจารณาดูว่าดาวจันทร์เกาะกลุ่มดาวฤกษ์ใดโดยพึงถือว่ากลุ่มดาวฤกษ์นั้นเป็นฤกษ์กำเนิดของชะตามีคำพยากรณ์ผลที่จันทร์โคจรเข้าเกาะกลุ่มดาวฤกษ์กำเนิด
และการหาฤกษ์ของดาวจันทร์๒ในชะตาก็เพื่อทราบไปถึงนวางค์บาทฤกษ์ที่ดาวจันทร์ไปเกาะว่าเป็นนวางค์บาทฤกษ์บนประเภทใด หากเป็นบาทฤกษ์ของบูรณฤกษ์จัดว่าให้ผลดี แต่หากเป็นนวางค์บาทฤกษ์ของกลุ่มฉินฤกษ์หรือภินทฤกษ์ ตลอดจนเป็นนวางค์ขาดทั้ง ๓แห่ง ก็จะบันดาลโทษทุกข์ให้ อันนี้เป็นฤกษ์กำเนิดตามผลของดาวจันทร์๒

ส่วนการหาฤกษ์ล่างนั้นเป็นการนำเอากลุ่มดาวฤกษ์๒๗กลุ่มมาแบ่งออกเป็นฤกษ์ดี-ชั่ว อาศัยผลจากฤกษ์กำเนิดที่จันทร์๒ในชะตาเกาะอยู่เป็นมูลเหตุ
เริ่มต้นฤกษ์ล่างซึ่งมีทั้งหมด ๙ หมวดนั้นกระจายไปเข้าตามกลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗กลุ่มโดยท่านให้สมมติจันทร์เกาะฤกษ์ที่๑ในราศีเมษเป็นหลัก คือ
  -อัสวิณีนักษัตร ที่๑ เรียกว่าเป็น ทลิทโทฤกษ์ 
  -ภรณีนักษัตร ที่๒ เรียกว่าเป็นมหัทธโนฤกษ์
  -กัตติการนักษัตรที่๓ เรียกว่าเป็น โจโรฤกษ์
  -โรหิณีนักษัตรที่๔ เรียกว่าเป็นภูมิปาโลฤกษ์
   -มิคคศิระ นักษัตรที่๕ เรียกว่าเป็น เทศาตรีฤกษ์ 
   -อารทรานักษัตรที่๖ เรียกว่าเป็น เทวีฤกษ์
   -ปุนรวสุนักษัตร ที่๗ เรียกว่า เพ็ชฌฆาตฤกษ์
   - ปุษยะนักษัตร ที่๘ เรียกว่า ราชาฤกษ์
  - อาศเลษานักษัตร ที่๙ เรียกว่า สมโณฤกษ์
 - มฆานักษัตร ที่๑๐ เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์
 - ปุรพผลคุณีนักษัตร ที่๑๑ เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์
 - อุตรผลคุณีนักษัตร ที่๑๒ เรียกว่า โจโรฤกษ์
 - หัสตะนักษัตร ที่๑๓ เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์
- จิตรานักษัตร ที่๑๔ เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์
- สวาตินักษัตร ที่๑๕ เรียกว่า เทวีฤกษ์
- วิสาขานักษัตร ที่๑๖ เรียกว่า เพ็ชฌฆาตฤกษ์
- อนุราธานักษัตร ที่๑๗ เรียกว่า ราชาฤกษ์
- เชฎฐานักษัตร ที่๑๘ เรียกว่า สมโณฤกษ์
- มูละนักษัตร ที่๑๙ เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์
- ปูรวาษาฒนักษัตร ที่๒๐ เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์
- อุตราษาฒนักษัตร ที่๒๑ เรียกว่า โจโรฤกษ์
- ศรวณะนักษัตร ที่๒๒ เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์
- ธนิษฐะนักษัตร ที่๒๓ เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์
- ศตภิสัชนักษัตร ที่๒๔ เรียกว่า เทวีฤกษ์
- ปุรวภัทรบทนักษัตร ที่๒๕ เรียกว่า เพ็ชฌฆาตฤกษ์
- อุตรภัทรบนักษัตร ที่๒๖ เรียกว่า ราชาฤกษ์
- เรวตินักษัตร ที่๒๗ เรียกว่า สมโณฤกษ์
จากด้านบนนำมาจัดตามฤกษ์ล่างแต่ละฤกษ์จะประกอบด้วยนักษัตรดังต่อไปนี้คือ
หมวดฤกษ์ที่ ๑  ทลิทโทฤกษ์     
ได้แก่นักษัตร ฤกษ์ที่ ๑,๑๐,๑๙ 
หมวดฤกษ์ที่ ๒  มหัทธโนฤกษ์  ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๒,๑๑,๒๐
หมวดฤกษ์ที่ ๓  โจโรฤกษ์   ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่๓,๑๒,๒๑
หมวดฤกษ์ที่ ๔  ภูมิปาโลฤกษ์    ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๔,๑๓,๒๒
หมวดฤกษ์ที่ ๕  เทศาตรีฤกษ์   ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๕,๑๔,๒๓
หมวดฤกษ์ที่ ๖  เทวีฤกษ์  ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๖,๑๕,๒๔
หมวดฤกษ์ที่ ๗  เพชฌฆาตฤกษ์ ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๗,๑๖,๒๕
หมวดฤกษ์ที่ ๘  ราชาฤกษ์   ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๘,๑๗,๒๖
หมวดฤกษ์ที่ ๙  สมโณฤกษ์  ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๙,๑๘,๒๗

ดังนั้น ดาวจันทร์๒ที่สถิตย์ในราศีพิจิก๒๖องศา ๔๕ลิบดาเศษนั้น เมื่อทำเป็นฤกษ์จันทร์จะเข้าเกาะที่ฤกษ์ที่๑๘เชฎฐะนักษัตร ตรงกับจัตตุถะบาทฤกษ์ที่๔เป็นนวมะนวางค์ที่๙ของราศีพิจิก มีดาวพฤหัสบดี๕ดาวเกษตรราศีมีนครองนวางค์นั้น  เชฎฐะนักษัตรที่๑๘เป็นบูรณฤกษ์ตามฤกษ์บนที่ให้คุณเพราะบาททั้งสี่ของฤกษ์อยู่ในราศีพิจิกแห่งเดียวกันแต่นวางค์บาทฤกษ์นั้นไปตรงกับนวางค์ขาดลูกสุดท้ายในราศีพิจิกที่ให้โทษและสำหรับฤกษ์ล่างนั้น ยึดถือโดยอาศัยตามผลจากฤกษ์กำเนิดที่จันทร์๒ในชะตาเกาะตามที่กล่าวมาแล้วจะได้ดังนี้คือ 
๑.เชฎฐานักษัตร ที่๑๘ เรวดี, นักษัตรฤกษ์ที่๒๗ ,อาศเลษานักษัตร ที่๙ เป็นทลิทโทฤกษ์ล่างตามชะตา
   เป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
๒.มูละนักษัตร ที่๑๙ ,อัสวิณีนักษัตร ที่๑, มฆานักษัตร ที่๑๐เป็นมหัทธโน ฤกษ์ล่างตามชะตา เป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
๓.  ปูรวาษาฒนักษัตร ที่๒๐, ภรณีนักษัตร ที่๒,   ปุรพผลคุณีนักษัตร ที่๑๑  เป็นโจโรฤกษ์ล่างตามชะตาเป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
๔. อุตราษาฒนักษัตร ที่๒๑,  กัตติการนักษัตรที่๓ , อุตรผลคุณีนักษัตร ที่๑๒  เป็นภูมิปาโลฤกษ์ล่างตามชะตา ตรงกับฉินฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนไม่ให้ผลดี
๕.  ศรวณะนักษัตร ที่๒๒,  โรหิณีนักษัตรที่๔ , หัสตะนักษัตร ที่๑๓ เป็นเทศาตรีฤกษ์ล่างตามชะตาเป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
๖.   ธนิษฐะนักษัตร ที่๒๓,  มิคคศิระ นักษัตรที่๕,  จิตรานักษัตร ที่๑๔เป็น เทวีฤกษ์ล่างตามชะตา ตรงกับภินทฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนไม่ให้ผลดี
๗.  ศตภิสัชนักษัตร ที่๒๔, อารทรานักษัตรที่๖, สวาตินักษัตร ที่๑๕ เป็น เพชฌฆาตฤกษ์ล่างตามชะตาเป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
๘.  ปุรวภัทรบทนักษัตร ที่๒๕, ปุนรวสุนักษัตร ที่๗,  วิสาขานักษัตร ที่๑๖   เป็น ราชาฤกษ์ล่างตามชะตาตรงกับภินทฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนไม่ให้ผลดี
๙.อุตรภัทรบนักษัตร ที่๒๖, ปุษยะนักษัตร ที่๘,  อนุราธานักษัตร ที่๑๗ เป็น  สมโณฤกษ์ล่างตามชะตาเป็นบูรณฤกษ์ ตามขบวนการฤกษ์บนให้ผลดี
เมื่อคำนวณหาสมผุสแล้วก็นำมาหาฤกษ์และนาทีฤกษ์ตามที่อธิบายมานี้ เมื่อรู้ฤกษ์และนวางค์บาทฤกษ์ที่จันทร์ในดวงชะตานั้นเกาะแล้ว จากนั้น ก็พึงกำหนดหาฤกษ์ล่างทั้ง ๙หมวด โกยกำหนดผลที่ร้ายจากหลักการณ์ ของฤกษ์บนเป็นเกณฑ์ คือถ้าเป็นฤกษ๋์ล่างที่ดีเช่นทลิทโท,มหัทธโน,ภูมิปาโล,เทวี,ราชา,และสมโณ แต่ไปตรงกับฉินทฤกษ์หรือภินทฤกษ์ตามฤกษ์บน ก็ไม่จัดว่าให้ผลดีอย่างเต็มที่วันใดพระจันทร์จรตาม    ปฎิทินโคจรเข้าเกาะฤกษ์เหล่านี้ แม้จะเป็นฤกษ์ดีตามหมวดฤกษ์ล่างแต่เป็นฤกษ์ที่ไม่ให้ผลดีตามขบวนการฤกษ์บนเป็นการขัดกันอยู่ นอกเสียจากว่าเป็นฤกษ์ที่ดีในหมวดฤกษ์ล่าง แล้วไปตรงกับหมวดฤกษ์ประเภทบูรณฤกษ์ตามฤกษ์บนด้วย จึงจะนับว่าให้ผลดีเต็มที่ วันใดที่จันทร์จรโคจรตามปฎิทินเข้าไปเกาะวันนั้นก็ควรแก่การกำหนดเป็นวันฤกษ์งามยามดี

แต่ถ้าฤกษ์ชั่ว(ตามที่ตำราอาจารย์ท่านใช้เรียก)ในฤกษ์ล่างคือเป็นโจโร,เทศาตรี, เพ็ชฌฆาต หากไปตรงกับฤกษ์บนที่เป็นบูรณฤกษ์เข้า ผลร้ายก็เสื่อมซาไปส่วนจะกำหนดเป็นวันมงคลเมื่อจันทร์จรโคจรเข้าเกาะก็ไม่สมควรกระทำเป้นเป็นฤกษ์ที่เสียในฤกษ์ล่างแห่งดวงชะตา แต่หากฤกษ์ชั่วในฤกษ์ล่างแล้วไปตรงกับ   ฉินทฤกษ์หรือภินทฤกษ์ในฤกษ์บนเข้าอีกอย่างจะให้โทษถ่ายเดียว วันใดที่จันทร์จรโคจรเข้าเกาะห้ามมิให้ใช้ประกอบการมงคลเด็ดขาด

ฤกษ์จำพวกฉินทฤกษ์และภินทฤกษ์ที่มาเรียกว่าฤกษ์ชั่ว(ตามที่ตำราอาจารย์ท่านใช้เรียก)ที่ให้โทษนั้นเพราะมีนวางค์บาทฤกษ์คาบอยู่เป็น๒ ราศี  นวางค์บาทฤกษ์ที่อยู่ราศ๊หน้าเป็นอนาคต  นวางค์บาทฤกษ์ที่อยู่ราศ๊หลังเป็นอดีต ฤกษ์เหล่านี้ย่อมมีธาตุเป็น๒อย่าง บาทฤกษ์ใดอยู่ราศีใดก็ย่อมมีธาตุเหมือนราศีนั้น ในเรื่องของฤกษ์ที่มีธาตุแยกเป็น๒ธาตุ นี้จึงเป็นขอบข่ายที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆได้

นอกจากนี้ ดาวเคราะห์ที่โคจรเกาะกลุ่มดาวฤกษ์เดียวกัน ย่อมไม่ส่งผลเหมือนกันต้องดูว่าดาวเคราะห์นั้นเข้าครองนวางค์บาทฤกษ์นั้นๆเป็นสำคัญถ้าหากเข้าเกาะฤกษ์ล่างที่ดี ตรงกับฤกษ์บนที่ดี และดาวเคราะห์ที่นวางค์บาทฤกษ์นั้นก็อยู่ในตำแหน่งที่ดีในดวงชะตาคืออยู่ในภพที่ดี อยู่ในสภาพที่เข็มแข็ง(เพ็ญ) อยู่ใน
ตำแหน่งอุจจ์-เกษตร หากเป็นดังกล่าวนี้จะได้ผลสมจริง แต่หากอยู่ในฤกษ์ที่ดีทั้งฤกษ์บนก็เป็นบูรณฤกษ์
ที่ดีแต่ดาวเคราะห์ที่ครองนวางค์บาทฤกษ์นั้น ไปปรากฎแยู่ในตำแหน่งเสื่อมตามดวงชะตาเช่น อยู่ใน
ทุสถานะภพอริ,มรณะ,วินาสน์ หรือ ในสภาพอ่อนแอ (ดับ), ในตำแหน่งนิจผลที่ดีที่น่าจะได้รับจากฤกษ์ที่
ดีก็จะลดลงไป
กรณีที่ดาวเคราะห์นั้นโคจรเข้าเกาะฤกษ์ที่ร้ายตามฤกษ์ล่างและยังไปตรงกับฉินฤกษ์หรือภินฤกษ์ตามฤกษ์บนเข้าอีก การพิจารณาผลต้องดูจากดาวเคราะห์ครองนวางบาทฤกษ์นั้นเป็นสำคัญ ถ้าหากดาวเคราะห์ที่ครองนวางค์บาทฤกษ์นั้นอยู่ในสภาพที่ดีตามดวงชะตาผลที่ได้รับจากการเข้าเกาะฤกษ์ชั่วก็จะลดลง แต่ถ้าดาวเคราะห์ครองนวางค์นั้นมีสภาพอ่อนแออย่างนี้จะได้รับผลร้ายเต็มที่  ดังนั้นดาวเคราะห์ที่โคจรเข้าร่วมเกาะในฤกษ์เดียวกันจะส่งผลดีร้ายให้เหมือนกันก็ต่อเมื่อร่วมนวางค์บาทฤกษ์เดียวกัน ดังนั้นดวงชะตาของฝาแฝดที่เกิดเกือบจะพร้อมกันแต่มีเวลาคลาดเคลื่อนกันไปนิดหน่อย ลัคนาแม้จะเกาะฤกษ์เดียวกันแต่นวางค์บาทฤกษ์นั้นย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของดาวเคราะห์ที่ครองนวางค์บาทฤกษ์และตามลักษณะของดาวเคราะห์ครองตรียางค์นั้น
 
บรมครูอาจารย์หลายท่านได้เขียนเรื่องดาวจันทร์และฤกษ์ไว้อย่างละเอียดค่ะ เช่นตำราของอาจารย์
เทพ สาริกบุตร และอาจารย์ท่านอื่นๆ ทีนำมาเสนอเป็นเพียงบางส่วนค่ะ หากสนใจศึกษารายละเอียดจริงจัง ลองหาอ่านหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ค่ะจากตำราและอาจารย์โหราศาสตร์ที่เขียนไว้ ค่ะ
ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์ทั้งหลายทั้งที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วยความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทางไลน์ค่ะ ฝากกดชอบใจหรือติดตามเพจfacebook zodietcwise ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

















ความคิดเห็น