สวดมนต์ดลจิตให้มีที่พึ่ง
เกร็ดบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ) หรือพุทธชัยมงคลคาถา
เป็นชื่่อพระคาถาในพระพุทธศาสนา มีความยาวแปดบท ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการที่พระสมณโคดมทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ด้วยธรรมานุภาพ มิใช่ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
พระคาถานี้ปัจจุบันมักใช้สวดต่อจากคาถาทำวัตรเช้าหรือเย็น
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง,ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง, โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขังขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง, ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตังเมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง, ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา, จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง, วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง, ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง, พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
(* ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)
(* ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)
ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต แสดงความเห็นไว้ว่า คาถาพาหุง เรียกเป็นทางการว่า ชยมังคล อัฏฐกคาถา อ่านว่า “ชะยะมังคะละอัตถะกะคาถา” แปลว่า “คาถาว่าด้วยชัยชนะ ๘ ประการ อันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า” ที่เรียกกันติดปากว่า “คาถาพาหุง” เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า “พาหุง” ส่วนที่มานั้น ค่อนข้างสับสน บางกระแสว่าน่าจะแต่งโดยนักปราชญ์ศรีลังกา เพราะพระลังกาสวดกันได้ทุกรูป บางกระแสระบุว่า คาถาพาหุง แต่งที่เมืองไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลพระคาถาพาหุง บทที่ ๑ เป็นภาษาไทยในรูปแบบวสันตดิลกฉันท์ ไว้ให้กองทัพไทยสวดก่อนร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในการนี้ ว่าบทสวดทำนองสรภัญญะ ได้ทรงดัดแปลงท้ายพระคาถาจากที่ว่า 'ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ' เป็น 'ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง' ทั้งยังได้โปรดให้จารึกพระคาถาที่ทรงดัดแปลงนี้ลงหน้าและหลังธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามครั้งนี้ด้วย
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท- ธะวิสุทธะศาสดา
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์
ขุนมารสหัสสะพหุพา- หุวิชาวิชิตขลัง
ขี่คีริเมขละประทัง คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
แสร้งเสกสราวุธะประดิษฐ์ กละคิดจะรอนราน
รุมพลพหลพยุหะปาน พระสมุททะนองมา
หวังเพื่อผจญวระมุนิน- ทะสุชินะราชา
พระปราบพหลพยุหะมา- ระเมลืองมลายสูญ
ด้วยเดชะองค์พระทศพล สุวิมละไพบูลย์
ทานาทิธัมมะวิธิกูล ชนะน้อมมโนตาม
ด้วยเดชะสัจจะวจนา และนะมามิองค์สาม
ขอจงนิกรพละสยาม ชยะสิทธิทุกวาร
ถึงแม้จะมีอริวิเศษ พละเดชะเทียมมาร
ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ อริแม้นมุนินทรฯ
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์
ขุนมารสหัสสะพหุพา- หุวิชาวิชิตขลัง
ขี่คีริเมขละประทัง คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
แสร้งเสกสราวุธะประดิษฐ์ กละคิดจะรอนราน
รุมพลพหลพยุหะปาน พระสมุททะนองมา
หวังเพื่อผจญวระมุนิน- ทะสุชินะราชา
พระปราบพหลพยุหะมา- ระเมลืองมลายสูญ
ด้วยเดชะองค์พระทศพล สุวิมละไพบูลย์
ทานาทิธัมมะวิธิกูล ชนะน้อมมโนตาม
ด้วยเดชะสัจจะวจนา และนะมามิองค์สาม
ขอจงนิกรพละสยาม ชยะสิทธิทุกวาร
ถึงแม้จะมีอริวิเศษ พละเดชะเทียมมาร
ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ อริแม้นมุนินทรฯ
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแปลพระคาถาพาหุง บทที่ ๗ เรียก "บทนนฺโท" ว่าด้วยชัยชนะของพระสมณโคดมต่อนันโทปนันทนาคราช ให้นักรบฝ่ายกองทัพเรือไว้ใช้สวดก่อนนอน
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท- ธะวรุตตะมาจารย์
ประศาสน์พระศาสะนะประสาน มนะเพื่อผดุงคน
นันโทปนันทะภุชะคา ติฉลาดและแสนกล
เรืองอิทธิฤทธิจะประจน จิระเหี้ยมอหังการ์
พระโลกะนาถะพระประทาน อุปะเทศะฤทธา
แด่องค์พระเถระวรสา- วะกะเพื่อผจญงู
วันอัคคะสาวะกะวิสิฎ- ฐะวิชิต ณ ศัตรู
ปราบนาคะราชะชยชู ชะนะแม้นมะโนจง
ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา และนะมามิสามองค์
ขมพลสมุททะยุธะยง ชยสิทธิทุกครา
ถึงแม้คณาอริจะนำ พหุยุทธะนาวา
มาแน่น ณ แดนอุทกะสา- ครก้องคะนองหาญ
ขอเดชะองค์พระทศพล พิระเกื้อกำลังราญ
เรืองไทยวิชัยวิชิตผลาญ อริแม้นมุนินทรฯ
ประศาสน์พระศาสะนะประสาน มนะเพื่อผดุงคน
นันโทปนันทะภุชะคา ติฉลาดและแสนกล
เรืองอิทธิฤทธิจะประจน จิระเหี้ยมอหังการ์
พระโลกะนาถะพระประทาน อุปะเทศะฤทธา
แด่องค์พระเถระวรสา- วะกะเพื่อผจญงู
วันอัคคะสาวะกะวิสิฎ- ฐะวิชิต ณ ศัตรู
ปราบนาคะราชะชยชู ชะนะแม้นมะโนจง
ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา และนะมามิสามองค์
ขมพลสมุททะยุธะยง ชยสิทธิทุกครา
ถึงแม้คณาอริจะนำ พหุยุทธะนาวา
มาแน่น ณ แดนอุทกะสา- ครก้องคะนองหาญ
ขอเดชะองค์พระทศพล พิระเกื้อกำลังราญ
เรืองไทยวิชัยวิชิตผลาญ อริแม้นมุนินทรฯ
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพิเดีย
ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และ ข้อมูลจากตำราของอาจารย์ ศ ดุสิต และจากตำราหลายท่านอาจารย์ด้วยความเคารพไว้ณ ที่นี้
ขอบคุณที่ติดตามเพจและฝาก กดLIke facebook: @zodietc ด้วยค่ะ#Zodietcwise
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น