คำว่าตนุ คือตัวตน ดังนั้น ตนุของจันทร์ก็คือ ภพที่ดาวจันทร์ไปสถิตย์นั้นมีดาวอะไรเป็นดาวเจ้าเรือน มาเป็นตัวแทนของดาวจันทร์ เช่น ถ้าดาวจันทร์เป็นเจ้าเรือน พันธุ ดาวนั้นก็มาเป็นตัวแทนของจันทร์:ไว้ใช้อ่านตอนดาวจันทร์จรเพราะดาวจันทร์เดินโคจรประมาณสองวันครึ่งซึ่งค่อนข้างสั้น ส่วนเจ้าชะตาที่ผูกดวงแล้วนี่ดาวจันทร์เป็นเกษตรในราศีกรกฎจะไม่มีดาวตนุจันทร์ หรือบางตำราก็ใช้ดาวเกตุมาเป็นตัวแทน
ดาวจันทร์นั้นเป็นตัวแทนของจิตใจ ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและพฤติกรรมที่ถ่ายทอดออกมาจากตัวเจ้าชะตาในเชิงความรู้สึกต่างๆ ทำให้เกิดมีอารมณ์ ตามคำกล่าวที่ว่า "ทายรูปทายจริต ให้ทายจันทร์ " แม้ดาวจันทร์ใช้เวลาประมาณ๒.๕ วันโคจร แต่สามารถนำมาทำนายโชคดีและร้ายได้เรียกว่าจันทร์บอกเหตุ สามารถบังคับดาวใหญ่คือ ๕-๗-๘ ดาวจันทร์เป็นดาวแม่ธาตุน้ำเป็นราศีภาคกลางคืน จะมีการเคลื่อนที่จนเกิด จันทร์เพ็ญและจันทร์ดับขึ้นในแต่ละเดือน ระยะการโคจรของดาวจันทร์ คือ จันทร์โคจร ๑ องศาใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง
ปฏิทินจันทรคติในหนึ่งเดือนจะนับตามการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ซึ่งประมาณ ๒๙ วันครึ่งโดย ตามเดือนทางจันทรคติ นั้น เดือนอ้ายคือเดือนตุลาคม เดือนยี่หรือเดือนสิบสอง คือเดือนพฤศจิกายน เดือน ธันวาคมคือเดือนสาม เดือนมกราคมคือเดือนสี่และนับต่อๆไปจนครบสิบสิงเดือน ในหนึ่งปี ๑๒ เดือนนั้นจะมีทั้งหมด ๓๕๔ วัน โดยวันจะน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ ๑๐ วันเศษ ซึ่งเมื่อถึงปีที่จำนวนวันที่เกินมาครบประมาณ ๒๙.๕ วันเศษ จะมีการเพิ่มเดือนเข้ามาอีกหนึ่งเดือน ซึ่งทำให้ปีนั้นมี ๓๘๔ วัน ตัวอย่างเช่นในปฏิทินจันทรคติไทย จะเรียกว่าอธิกมาส โดยจะเพิ่มเดือน ๘ เข้ามาอีกหนึ่งเดือนซึ่งเรียกว่า เดือน ๘/๘ (หรือ ๘-๘ หรือ ๘๘ ก็เขียน) โดยในปีนั้นจะมี ๑๓ เดือน ในปีที่ ๓, ๖, ๙, ๑๑, ๑๔, ๑๗ และ ๑๙ โดยเดือนคู่จะมี ๓๐ วัน คือวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี๒๙ วัน คือวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๔ ค่ำ นอกจากนี้ยังมีบางปีที่มีวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เรียกว่าอธิกวาร โดยจะมีในปีที่ ๖, ๑๒, ๑๗, ๒๒, ๒๘, ๓๓และ ๓๘ ทั้งนี้ เพื่อให้เดือนแต่ละเดือนมีค่าเฉลี่ยของวันในเดือนเข้าใกล้ ๒๙.๕๓๐๕๘๘ วันมากที่สุด
จันทร์เพ็ญ (ปูรณมี) คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เต็มที่มักจะเกิดประมาณ วันกลางเดือนทางจันทรคติโดยดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามราศีกับดวงอาทิตย์ ทำมุมเป็น ๑๘๐ องศาแก่กัน จึงเรียกว่าจันทร์เพ็ญหรือบูรณมี ในรอบหนึ่งเดือนทางจันทรคติ ดวงจันทร์มีแสงมากที่สุดในจุดนั้น นอกจากจันทร์เพ็ญ แล้วยังมีดาวอื่นที่มาอยู่ในได้วงของจันทร์แล้วเกิด จุดเพ็ญ ด้วยคือ
๑. ดาวจันทร์. อังคาร .พฤหัสบดี และเสาร์ ขณะที่โคจรอยู่ในราศีที่ตรงข้ามกับ
อาทิตย์จร ขณะนั้นเมื่อมีระยะเชิงมุม ห่างกัน ๑๘๐ องศาพอดีเมื่อใด จะทำให้เกิดจุดเพ็ญขึ้น
๒. ดาวพุธ กับ ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์คู่นี้ไม่มีโอกาสเล็งกับอาทิตย์ได้เลย เนื่องจากมีวิถีจักรโคจรคู่กับอาทิตย์เรื่อยไป โดยตลอดไป
-พุธ มีระยะเชิงมุมหางจากดวงอาทิตย์เกิน ๒๘ องศา ไปไม่ได้ พุธ จะเกิด จุดเพ็ญ ก็ต่อเมื่อ มีวิถีโคจรห่างจาก ดวงอาทิตย์จรในขณะนั้นเกิน ๑๘ องศา ขึ้นไป จึงจะเป็นจุดเพ็ญได้
-ศุกร์ มีระยะเชิงมุมหางจากดวงอาทิตย์เกิน ๔๘ องศาไปมิได้เช่นกัน ศุกร์ ต้องมีระยะเชิงมุมห่างจากอาทิตย์ราว ๔๐ องศาขึ้นไป จึงจะเป็นจุดศุกร์เพ็ญได้
๑. ดาวจันทร์. อังคาร .พฤหัสบดี และเสาร์ ขณะที่โคจรอยู่ในราศีที่ตรงข้ามกับ
อาทิตย์จร ขณะนั้นเมื่อมีระยะเชิงมุม ห่างกัน ๑๘๐ องศาพอดีเมื่อใด จะทำให้เกิดจุดเพ็ญขึ้น
๒. ดาวพุธ กับ ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์คู่นี้ไม่มีโอกาสเล็งกับอาทิตย์ได้เลย เนื่องจากมีวิถีจักรโคจรคู่กับอาทิตย์เรื่อยไป โดยตลอดไป
-พุธ มีระยะเชิงมุมหางจากดวงอาทิตย์เกิน ๒๘ องศา ไปไม่ได้ พุธ จะเกิด จุดเพ็ญ ก็ต่อเมื่อ มีวิถีโคจรห่างจาก ดวงอาทิตย์จรในขณะนั้นเกิน ๑๘ องศา ขึ้นไป จึงจะเป็นจุดเพ็ญได้
-ศุกร์ มีระยะเชิงมุมหางจากดวงอาทิตย์เกิน ๔๘ องศาไปมิได้เช่นกัน ศุกร์ ต้องมีระยะเชิงมุมห่างจากอาทิตย์ราว ๔๐ องศาขึ้นไป จึงจะเป็นจุดศุกร์เพ็ญได้
ส่วนจันทร์ดับ (อามาวสี) คือ แรม ๑๕ ค่ำ องศาของดาวอาทิตย์และองศาดาวจันทร์เท่ากัน (ทับกันสนิทองศา) เรียกว่า จุดอามาวสี จะเป็นคืนที่เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ ถือว่าดวงจันทร์มืด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เป็นคืนเดือนมืด เนื่องจากถูกรัศมีของ
ดวงอาทิตย์มีองศาทับกันสนิท จึงจะเรียกว่าจันทร์ดับ เนื่องจากถูกรัศมีของดวงอาทิตย์บดบังเอาไว้ เช่น วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ดวงจันทร์เข้าสู่จุดดับ เราจะไม่เห็นแสงจันทร์บนท้องฟ้าในคือนี้เลย
ดวงอาทิตย์มีองศาทับกันสนิท จึงจะเรียกว่าจันทร์ดับ เนื่องจากถูกรัศมีของดวงอาทิตย์บดบังเอาไว้ เช่น วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ดวงจันทร์เข้าสู่จุดดับ เราจะไม่เห็นแสงจันทร์บนท้องฟ้าในคือนี้เลย
จันทร์ครึ่งดวง หรือเรียกว่า พระจันทร์ครึ่งซีก อันได้แก่ วันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ของทุกเดือน ตามการนับแบบจันทรคติ ในเดือนหนึ่งเรามีโอกาสเห็นจันทร์ครึ่งดวง 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 8 ค่ำ และ แรม 8 ค่ำ ของทุก ๆ เดือน
ดิถี
ในทางโหราศาสตร์ ดิถีคือวันทางจันทรคติ (lunar day) มีสองแบบคือ ดิถีเพียร และ ดิถีตลาด ดิถีเพียรจะเป็นดิถีที่คำนวณโดยอิงการโคจรของดวงจันทร์ในรอบเดือนจริง ๆ ไม่ใช่ขึ้นแรมในปฏิทินปกติ ในขณะที่ดิถีตลาด จะอนุโลมให้ดิถีนับแบบอิงวันสุริยคติเป็นวัน ๆ ไป เรียกเป็นข้างขึ้นข้างแรม ดิถีทั้งสองแบบล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นส่วนประกอบของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งนั่นคือข้างขึ้นข้างแรมที่สังเกตได้ยามค่ำคืนนั่นเองสำหรับในทางโหราศาสตร์
ในทางโหราศาสตร์ ดิถีคือวันทางจันทรคติ (lunar day) มีสองแบบคือ ดิถีเพียร และ ดิถีตลาด ดิถีเพียรจะเป็นดิถีที่คำนวณโดยอิงการโคจรของดวงจันทร์ในรอบเดือนจริง ๆ ไม่ใช่ขึ้นแรมในปฏิทินปกติ ในขณะที่ดิถีตลาด จะอนุโลมให้ดิถีนับแบบอิงวันสุริยคติเป็นวัน ๆ ไป เรียกเป็นข้างขึ้นข้างแรม ดิถีทั้งสองแบบล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นส่วนประกอบของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งนั่นคือข้างขึ้นข้างแรมที่สังเกตได้ยามค่ำคืนนั่นเองสำหรับในทางโหราศาสตร์
การที่จันทร์เป็นตัวแทนของจิตใจ เราควรใช้ปัญญาพิจารณาให้ตัวเราสร้างอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ในสี่หมวดนี้ไว้หมุมเวียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในร่างกายเรา อันได้แก่ Hope ความหวัง. Courage ความกล้าหาญ. Harmony ความปรองดอง.การเกื้อกูล และ Forgiveness การให้อภัยทั้งตัวเราเองและผู้อื่น มีขึ้นมีลงบ้างตามดาวจันทร์ทีโคจรไวนะคะ จะทำให้เราไม่ท้อแท้ง่ายไม่ทุกข์ง่ายเกินไปนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ ขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์โหราศาสตร์ทั้งหลายท่านและผู้อ่านที่ติดตามอ่านและเป็นกำลังใจค่ะ Zodi etc wise
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น