ยักษ์
ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ความเชื่อในบริเวณอื่น ๆ ของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน ยักษ์มีปรากฎทั้งในงานวรรณกรรมและในงานประติมากรรม ศิลปะกรรมของไทยและต่างชาติ
ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ความเชื่อในบริเวณอื่น ๆ ของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน ยักษ์มีปรากฎทั้งในงานวรรณกรรมและในงานประติมากรรม ศิลปะกรรมของไทยและต่างชาติ
ยักษ์มีหลายระดับขึ้นกับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูง จะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม มีเครื่องประดับ มีรัศมี มีอาหารทิพย์ มีบริวารคอยรับใช้ ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นบริวารคอยรับใช้ของยักษ์ชั้นสูง ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่าเกลียด ผมหยิก ตัวดำ ตาโปน ผิวหยาบ เหมือนกระดาษทราย นิสัยดุร้าย
ยักษ์ในความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ
ยักษ์จะอยู่ในการปกครองของท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวรมหาราชผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศเหนือ เหตุที่มาเกิดเป็นยักษ์เพราะทำบุญเจือด้วยความโกรธ มักหงุดหงิดรำคาญใจทำให้บุญกุศลนั้นไม่ถึงพร้อมส่งผลกำลังเต็มที่
ยักษ์จะอยู่ในการปกครองของท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวรมหาราชผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศเหนือ เหตุที่มาเกิดเป็นยักษ์เพราะทำบุญเจือด้วยความโกรธ มักหงุดหงิดรำคาญใจทำให้บุญกุศลนั้นไม่ถึงพร้อมส่งผลกำลังเต็มที่
ราหูเองก็มีอีกตำนานกล่าวว่าเป็น โอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค
พระปางไสยาสน์ หรือโปรดอสุรินทราหูซึ่งเป็นพระประจำวันอังคาร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถ นอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพานและปางทรงพระสุบิน
อสุรินทราหูอสูรใคร่จะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็ก ตนเองมีร่างกายใหญ่หากไปเฝ้าก็จะต้องก้มลงมองด้วยความลำบาก เมื่ออสุรินทราหู ไปเข้าเฝ้าสำคัญตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม
พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่า
อสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหูทำให้ต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ
พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่า
อสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหูทำให้ต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์
ดูมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแห่งชีวิต
คัมภีร์อนาคตวงศ์ ระบุว่าพระโคตมพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า พระราหูจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระนารทสัมพุทธเจ้า" นับเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตพระองค์ที่ ๕ (นับพระศรีอริยเมตไตรยเป็นพระองค์ที่ ๑)
เรื่องของราหูสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาให้เห็นเรื่อง "อคติ" ที่ควรนำมาพิจารณา ทั้งตัวราหูเอง และคนที่มองเห็นราหู
๑.ฉันทาคติ = ความลําเอียงเพราะรักหรือชอบพอกัน
๒. โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา หรือหลงผิด และ
๔. ภยาคติ = ความลําเอียงเพราะกลัว
๒. โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา หรือหลงผิด และ
๔. ภยาคติ = ความลําเอียงเพราะกลัว
การคิดเห็นสิ่งใดต้องพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบ รู้จักบริหารจิตใจของเรา มีอุเบกชา และฝึกหัดเรียนรู้การมีสัมมาทิฐิค่ะ เรียบเรียงจากข้อมูลวิกีพิเดีย ขอบคุณมาณที่นี้ค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น