ฤกษ์ต่างๆต่อจากเรื่องของตรียางค์และนวางค์ (ตอน๑-๔)
ฤกษ์ต่างๆนั้นมีที่มาจากดาวนักษัตรที่มีจำนวน ๒๗ กลุ่มฤกษ์ โดยจำนวนองศาของแต่ละฤกษ์จะเท่ากันหมดคือ ๑๓ องศา ๒๐ลิบดาหรือเท่ากับ ๔ นวางค์ ดังนั้นในแต่ละฤกษ์จะมีบาทฤกษ์เท่ากับ ๔ บาทซึ่งเท่ากับ๘๐๐ลิบดา โดยแต่ละบาทฤกษ์จะมีจำนวน ๑๕นาทีฤกษ์รวมเข้าเป็น ๖๐นาทีต่อฤกษ์
๑.ปฐมบาทนวางค์ เริ่มจาก ๐ นาทีฤกษ์ ถึง ๑๕ นาทีฤกษ์
๒.ทุตืยบาทนวางค์เริ่มจาก ๑๖ นาทีฤกษ์ ถึง ๓๐ นาทีฤกษ์
๓.ตติยบาทนวางค์ เริ่มจาก ๓๑ นาทีฤกษ์ ถึง ๔๕ นาทีฤกษ์
๔.จัตตุถบาทนวางค์เริ่มจาก ๔๖ นาทีฤกษ์ ถึง ๖๐ นาทีฤกษ์
ในนักษัตรใดมีบาทฤกษ์ครบทั้งสี่บาทในราศีเดียวกันเรียกว่า บูรณฤกษ์
ส่วนนักษัตรที่มีบาทฤกษ์แยกกันเช่น นวางค์ปฐมบาทอยู่ที่ราศีหนึ่ง
นอกนั้นอยู่อีกราศีหนึ่ง ใน๒ราศีเรียกว่า ฉินฤกษ์ และ นักษัตรที่มีบาทฤกษ์แยกกัน
(ตำแหน่งของฤกษ์ตามราศีและนวางค์ตาราศี:ภาพประกอบ แผ่นหมุนลัคนาสำเร็จ นายสิงห์โต สินสันธิ์เทศ)
นักษัตรหรือดาวฤกษ์นั้นจะมีทั้งหมด๒๗ กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ
ฤกษ์ที่ ๑. อัศวินี (ดาวม้า) เริ่มตั้งแต่ ๐ องศาในราศีเมษ จนถึง๑๓ องศา ๒๐ ลิบดาในราศีเมษ
ฤกษ์ที่ ๒. ภรณี ( กลุ่มดาวแม่ไก่ หรือ ก้อนเส้า ,ดาวธงสามเหลี่ยม ) เริ่มตั้งแต่๑๓ องศา๒๑ ลิบดา ในราศีเมษ จนถึง๒๖ องศา ๔๐ลิบดาในราศีเมษ
ฤกษ์ที่ ๓. กฤตติกา หรือ กฤติกา ( กลุ่มดาวลูกไก่ ,ดาวธงสามเหลี่ยมหางยาว) เริ่มตั้งแต่ ๒๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีเมษ จนถึง๑๐องศาในราศีพฤษภฤกษ์ที่ ๔. โรหิณี ( กลุ่มดาวจมูกม้า หรือ คางหมู ,ดาวไม้ค้ำเกวียน) เริ่มตั้งแต่ ๑๐ องศา๑ ลิบดาในราศีพฤษภจนถึง๒๓องศา๒๓ ลิบดาในราศีพฤษภ
ฤกษ์ที่ ๕. มฤคศิระ ( กลุ่มดาวหัวเนื้อ ,หัวเต่า ) เริ่มตั้งแต่ ๒๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีพฤษภ จนถึง๖องศา๔๐ลิบดาในราศีมิถุน
ฤกษ์ที่ ๖. อราทรา หรือ อารทรา ( กลุ่มดาวฉัตร,ดาวตาสำเภา,รูปเหมือนหนึ่งแก้วปัทมราช ) เริ่มตั้งแต่ ๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีมิถุนจนถึง๒๐องศาในราศีมิถุน
ฤกษ์ที่ ๗. ปุนรวสุ หรือ ปุนัพสุ ( กลุ่มดาวสำเภาทอง ,ดาวชัย ,หัวสำเภา) เริ่มตั้งแต่ ๒๐องศา ๑ลิบดาในราศีมิถุน จนถึง๓องศา๒๐ลิบดาในราศีกรกฏ
ฤกษ์ที่ ๘. ปุษยะ หรือ บุษยะ ( กลุ่มดาวปุยฝ้าย ,พวงดอกไม้,ดาวสมอสำเภา,ดอกบัวหลวง หรือดาวรูปหีบ) เริ่มตั้งแต่ ๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีกรกฏ จนถึง๑๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีกรกฏ
ฤกษ์ที่ ๙. อาศเลษะ หรือ อาศเลษา ( กลุ่มดาวแมว หรือ พ้อม,เรือน ,คู้ข้อศอก ,
แขนคู้ ) เริ่มตั้งแต่ ๑๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีกรกฏ จนถึง๓๐องศาในราศีกรกฏ
ฤกษ์ที่ ๑๐. มาฆะ หรือ มฆา ( ดาววานร หรือ งอนไถ , งูผู้ , ดาวโคมูตร) เริ่มตั้งแต่ ๐องศาในราศีสิงห์ จนถึง๑๓องศา๒๐ลิบดาในราศีสิงห์
ฤกษ์ที่ ๑๑ . ปุรพผลคุนี หรือ บุรพผลคุนี ( กลุ่มดาวเพดานหน้า , งูเมีย) เริ่มตั้งแต่ ๑๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีสิงห์ จนถึง๒๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีสิงห์
ฤกษ์ที่ ๑๒. อุตตรผลคุนี หรือ อุตรผลคุนี ( กลุ่มดาวเพดานหลัง ,ดาวเพดานเรียงกัน ,งูเหลือม) เริ่มตั้งแต่ ๒๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีสิงห์ จนถึง๑๐องศาในราศีกันย์
ฤกษ์ที่ ๑๓. หัสตะ ( กลุ่มดาวศอกคู้ หรือ ฝ่ามือ ,เหนียงสัตว์) เริ่มตั้งแต่ ๑๐องศา ๑ลิบดาในราศีกันย์จนถึง๒๓องศา๒๐ลิบดาในราศีกันย์
ฤกษ์ที่ ๑๔. จิตรา ( กลุ่มดาวตาจรเข้ ,ไต้ไฟ ,มีพรรณดังแก้วไพฑูรย์ ) เริ่มตั้งแต่ ๒๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีกันย์ จนถึง๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีตุลย์
ฤกษ์ที่ ๑๕. สวาติ หรือสวาตี ( กลุ่มดาวช้างพัง,กองแก้ว ,กระออมน้ำ ,รูปเหนียงผูกคอสุนัข ) เริ่มตั้งแต่ ๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีตุลย์ จนถึง๒๐องศาในราศีตุลย์
ฤกษ์ที่ ๑๖. วิสาขะ ( กลุ่มดาวแขนนาง หรือ เขากระบือ ,ดาวคันฉัตร ,ไม้ฆ้อง) เริ่มตั้งแต่ ๒๐องศา ๑ลิบดาในราศีตุลย์ จนถึง๓ องศา๒๐ลิบดาในราศีพิจิก
ฤกษ์ที่ ๑๗. อนุราธะ ( กลุ่มดาวหมี หรือ หน้าไม้ ,หงอนนาค , ดาวประจำฉัตร) เริ่มตั้งแต่ ๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีพิจิก จนถึง๑๖องศา๔๐ลิบดาในราศีพิจิก
ฤกษ์ที่ ๑๘. เชฎฐา หรือ เชษฐา ( กลุ่มดาวแพะ หรือ ช้างใหญ่ ,งาช้าง ,คอนาค ,มีรูปคด)เริ่มตั้งแต่ ๑๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีพิจิก จนถึง๓๐องศาในราศีพิจิก
ฤกษ์ที่ ๑๙. มูละ ( กลุ่มดาวช้างน้อย,สะดือนาค )เริ่มตั้งแต่๐องศา ในราศีธนู จนถึง๑๓องศา๒๐ลิบดาในราศีธนู
ฤกษ์ที่ ๒๐. ปุรพาษาฒ ( กลุ่มดาวแรดตัวผู้ หรือ ช้างพลาย ,ดาวสัปคับช้าง,
ปากนก )เริ่มตั้งแต่ ๑๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีธนู จนถึง๒๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีธนู
ฤกษ์ที่ ๒๑. อุตตราษาฒ ( กลุ่มดาวแรดตัวตัวเมีย หรือ ช้างพัง ,แตรงอน ,รูปครุฑ)เริ่มตั้งแต่ ๒๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีธนู จนถึง๑๐องศาในราศีมังกร
ฤกษ์ที่ ๒๒. สราวณะ หรือ ศรวณะ ( กลุ่มดาวคนจำศีล ,ดาวหลักชัย ,หามผีหรือหามโลง )เริ่มตั้งแต่ ๑๐องศา ๑ลิบดาในราศีมังกร จนถึง๒๓องศา๒๐ลิบดาในราศีมังกร
ฤกษ์ที่ ๒๓. ธนิษฐา หรือ ธนิษฐะ ( กลุ่มดาวกา ,ดาวไซ )เริ่มตั้งแต่ ๒๓องศา ๒๑ลิบดาในราศีมังกรจนถึง๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีกุมภ์
ฤกษ์ที่ ๒๔. สคภิสัท หรือ ศตภิษัช ( กลุ่มดาวมังกร หรือ งูเลื้อย ,ดาวพิมพ์ทอง )เริ่มตั้งแต่ ๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีกุมภ์ จนถึง๒๐องศาในราศีกุมภ์
ฤกษ์ที่ ๒๕. ปูราภัทรปท หรือ บุรพภัทรบท ( กลุ่มดาวราชสีห์ตัวผู้ ,หัวเนื้อทราย)เริ่มตั้งแต่ ๒๐องศา ๑ลิบดาในราศีกุมภ์ จนถึง๓องศา๒๐ลิบดาในราศีมีน
ฤกษ์ที่ ๒๖. อุตตรภัทร หรือ อุตรภัทรบท ( กลุ่มดาวราชสีห์ตัวเมีย ,ดาวไม้เท้า )เริ่มตั้งแต่ ๒๑องศาในราศีมีน จนถึง๑๖องศา ๔๐ลิบดาในราศีมีน
ฤกษ์ที่ ๒๗. เรวดี หรือ เรวตี ( กลุ่มดาวปลาตะเพียน ,ดาวปลาตะเพียนคู่ ,รูปไซดักปลา ,หญิงท้อง) เริ่มตั้งแต่ ๑๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีมีน จนถึง๓๐องศาในราศีมีน
ฤกษ์ที่ ๒๗. เรวดี หรือ เรวตี ( กลุ่มดาวปลาตะเพียน ,ดาวปลาตะเพียนคู่ ,รูปไซดักปลา ,หญิงท้อง) เริ่มตั้งแต่ ๑๖องศา ๔๑ลิบดาในราศีมีน จนถึง๓๐องศาในราศีมีน
การแบ่งกลุ่มดาวฤกษ์เข้านวางค์ทั้ง๙ในแต่ละราศีจะแบ่งได้ตามภาพประกอบจากตำราวิชาโหราศาสตร์ อ.เทพ สาริกบุตรค่ะ
ฤกษ์ที่กล่าวถึงคือฤกษ์บนซึ่งกำหนดตามกลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗กลุ่ม ถือเป็นฤกษ์กำเนิดเมื่อดาวจันทร์เข้าไปเกาะในขณะที่เจ้าชะตาปฎิสนธิขึ้นมาและทำให้เกิดมีฤกษ์ล่างซึ่งในทางโหราศาสตร์ได้ยึดเอาราศีเมษเป็นหลักในการกำหนดฤกษ์ ๙ หมวดขึ้นมาคือ
หมวดฤกษ์ที่ ๑ ทลิทโทฤกษ์
ความหมายโดยย่อ คือ ผู้ขอ คนยากจนเข็ญใจ นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการสู่ขอและทวงหนี้นั้น
ได้แก่นักษัตร ฤกษ์ที่ ๑,๑๐,๑๙
หมวดฤกษ์ที่ ๒ มหัทธโนฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ ผู้มีทรัพย์มาก เศรษฐี นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการเปิดกิจการเกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๒,๑๑,๒๐
หมวดฤกษ์ที่ ๓ โจโรฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ ผู้ปล้น ผู้แย่งชิง นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการออกปล้นค่ายหรือโจมตี ตลอดจนใช้ในกิจการทหาร ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่๓,๑๒,๒๑
หมวดฤกษ์ที่ ๔ ภูมิปาโลฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ ผู้รักษาแผ่นดิน ผู้เป็นใหญ่ นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการวางเสาหลักเมือง หรือกระทำการที่ต้องการความมั่นคง ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๔,๑๓,๒๒
หมวดฤกษ์ที่ ๕ เทศาตรีฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ พ่อค้าแม่ค้า นิยมใช้ฤกษ์นี้เปิดท่าเรือและกิจการการค้า ตลอดจนทำการที่ต้องให้คนเข้าออกมาก ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๕,๑๔,๒๓
หมวดฤกษ์ที่ ๖ เทวีฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ นางผู้เป็นใหญ่ นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการทำกิจการที่เกี่ยวกับความสวยงามและสงบสุข ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๖,๑๕,๒๔
หมวดฤกษ์ที่ ๗ เพชฌฆาตฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ ผู้ฆ่า นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการทำกิจการที่ใช้ความเฉียบขาด หรือใช้ปลุกเสกเครื่องราง ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๗,๑๖,๒๕
หมวดฤกษ์ที่ ๘ ราชาฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ ผู้เป็นใหญ่ นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการทำกิจการที่ต้องการความมั่นคง ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๘,๑๗,๒๖
หมวดฤกษ์ที่ ๙ สมโณฤกษ์ ความหมายโดยย่อ คือ พระ นิยมใช้ฤกษ์นี้ในการบวช การเข้าหาความสงบ ได้แก่ นักษัตร ฤกษ์ที่ ๙,๑๘,๒๗
การพยากรณ์พื้นดวงชะตาที่เกี่ยวกับนักษัตรฤกษ์ เบื้องแรกจะพิจารณาจากดาวจันทร์ในดวงชะตาว่าสถิตย์อยู่ในราศีใดมีสมผุสองศาและลิบดาเท่าไหร่ เมื่อได้ทราบสมผุสแล้วก็ไปพิจารณาต่อว่าเกาะอยู่ในนักษัตรฤกษ์ใด นวางค์บาทฤกษ์ใดมีดาวเคราะห์ใดบ้างที่เข้าครองนวางค์บาทฤกษ์นั้น
บรมครูอาจารย์หลายท่านได้เขียนเรื่องฤกษ์ไว้อย่างละเอียดค่ะ เช่นของอาจารย์เทพ สาริกบุตร และ
อาจารย์ท่านอื่นๆ หากสนใจศึกษารายละเอียดจริงจัง ลองหาอ่านหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ค่ะจากตำราและอาจารย์โหราศาสตร์ที่เขียนไว้ ค่ะ
ขอบคุณวิชาโหราศาสตร์และข้อมูลจากตำราอาจารย์ทั้งหลายทั้งที่ได้เอ่ยนามแล้วและไม่ได้เอ่ยนามด้วยความเคารพอย่างสูงไว้ณที่นี้ เชิญปรึกษาดวงชะตาติดต่อได้ทางไลน์ค่ะ ผากกดชอบใจหรือติดตามเพจ facebook zodietcwise ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณค่ะสำหรับบทความให้ความรู้
ตอบลบขอบคุณที่ติดตามค่ะ
ลบขอบคุณที่ติดตามค่ะ
ลบ